สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

197 ชนก สาคริก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ พิณ ๑๙ สาย (Vena and Sitar) พิณ ๑๙ สายที่กล่าวถึงนี้คือพิณโบราณของอินเดีย ๒ ชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ วีณา และซีตาร์ เป็นพิณที่มีสายหลักส� ำหรับใช้ดีดเป็นเสียงดนตรีจ� ำนวน ๗ สายและมีสายที่ใช้ ส� ำหรับเป็นเสียงครางก้องกังวานเสริมอีก ๑๒ สายขึง เรียงรายอยู่ตรงบริเวณหน้าพิณ พิณวีณามีกล่องขยาย เสียงท� ำด้วยเปลือกลูกน�้ ำเต้าขนาดใหญ่เป็นพิเศษผ่าครึ่ง อยู่ทางด้านล่างใบหนึ่งและลูกน�้ ำเต้าขนาดเล็กอีกใบหนึ่ง อยู่ตรงคอพิณด้านบน ส่วนซีตาร์นั้นแตกต่างกับวีณาตรง ที่ไม่มีลูกน�้ ำเต้าส� ำหรับขยายเสียงติดอยู่ตรงคอพิณด้านบน นอกนั้นส่วนประกอบอื่น ๆ จะมีลักษณะ เหมือนกัน ปัจจุบันพิณซีตาร์นั้นดูเหมือนจะเป็นที่นิยมดีดบรรเลงกันมากกว่าพิณวีณา เสียงของ พิณวีณา และซีตาร์ นั้นมีความก้ องกังวานสดใสเป็ น เอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร นับว่าเป็นพิณที่มีระบบ เสียงที่ไพเราะ และซับซ้อนมากอีกชนิดหนึ่งสายพิณของ ซีตาร์ที่ใช้ส� ำหรับท� ำเสียงตัวโน้ตดนตรีนั้นมีอยู่เพียง ๗ สาย เท่านั้น แต่เนื่องจากทั้งวีณาและซีตาร์ นั้นมีสายขนาดเล็ก ส� ำหรับให้เกิดเสียงสะท้อนกังวานอีก ๑๒ เสียงขึงอยู่ตรง บริเวณผิวหน้ าของตัวพิณด้ วยจึงจัดให้ เป็ นพิณขนาด ๑๙ สายแทนที่จะเป็น ๗ สาย พิณ ๑๖ สาย พิณ ๑๖ สายนี้น่าจะได้รูปแบบดั้งเดิมมาจาก ประเทศอียิปต์ในสมัยโบราณ แล้วแพร่หลายผ่านมาทาง ฝั่งทวีปเอเชีย เพราะหากพิจาณาดูภาพของพิณอียิปต์ โบราณที่มีปรากฏอยู่ตามผนังอาคารพีระมิดแล้ว พิณ อียิปต์โบราณจะมีลักษณะที่คล้ายกับ “พิณซองก็อก” (Saung Gauk) ของพม่าในปัจจุบันนี้มากทีเดียว ส่วนจะ แพร่หลายมาถึงพม่าได้อย่างไรนั้นยังไม่เป็นที่ทราบกัน แต่สันนิษฐานว่าคงแพร่หลายผ่านเส้นทาง “สายไหม” มายังจีนก่อนแล้วพม่าจึงรับมาอีกทอดหนึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=