สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

195 ชนก สาคริก วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ไว้ด้วย โดยท� ำหน้าที่ถ่ายแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่กระพุ้งพิณเพื่อขยายเสียงให้ดังกังวานมากขึ้น พิณ ๕๐ สายนี้มีกล่าวถึงในคัมภีร์โบราณของชาวอินเดียว่าเป็น “พิณของเทพยดา” ที่มีเสียงดังกังวานไพเราะ น่าฟังมาก แนวคิดในการประดิษฐ์พิณ ๕๐ สายนี้จีนอาจได้รับอิทธิพลไปจากอินเดียก็ได้เพราะอินเดียนั้น มีอารยธรรมในด้านดนตรีที่เก่าแก่กว่าจีน พิณ ๔๕ สาย พิณของชาวตะวันตกเรียกว่า Zither มีจ� ำนวนสาย ๔๕ สาย มีลักษณะรูปทรงเป็นกล่อง สี่เหลี่ยมกลวง ขึงสายไว้จ� ำนวน ๔๕ สาย นิยมวางดีดในแนวนอนโดยมือหนึ่งใช้จับวัสดุแข็งดีดเป็น ท� ำนอง ส่วนอีกมือหนึ่งใช้นิ้วมือกดลงไปบนสายเพื่อปรับ เปลี่ยน “ความตึง” ของสายพิณให้เกิดเป็นระดับเสียงสูงต�่ ำ ที่แตกต่างกัน พิณ Zither นั้นมีแผ่นวัสดุเสริมแข็ง ๆ ที่เรียก ว่า Fret หรือ Bridge ส� ำหรับรองรับการกดนิ้วมือเพื่อเปลี่ยน ระยะความยาวของสายพิณติดไว้ด้วย คล้ายกับ “นม” ของ เครื่องดนตรีไทยที่เรียกว่า “จะเข้” นับเป็นพิณที่มีจ� ำนวนสาย รองลงมาจากพิณ “คงโหว” พิณ ๔๒ สาย พิณชนิดนี้ดูจะเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกนั่นคือเครื่องดนตรี ที่ไทยเราเรียกว่าขิม แม้ว่าจะใช้ไม้ ๒ อันตีให้เกิดเสียง ไม่ได้ใช้ นิ้วมือดีดบรรเลงเหมือนพิณอื่น ๆ ทั่วไป แต่ก็จัดว่าอยู่ในเครื่อง ดนตรีตระกูล “พิณ” เช่นเดียวกัน มีผู้นิยมเรียกขิมอีกชื่อหนึ่งว่า Butterfly Harp (พิณรูปผีเสื้อ) เนื่องจากเมื่อน� ำส่วนประกอบ ต่าง ๆ ของขิมมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วจะมีรูปร่างเหมือนกับตัว ผีเสื้อมากทีเดียว ขิม ๗ หย่อง มีฐานของหย่องอยู่ ๒ แถว แต่ละแถวมีสันแข็งคล้ายกับ “ใบเสมา”ส� ำหรับใช้วาง พาดสายขิมแถวละ ๗ อัน หย่องทั้ง ๑๔ อันนี้มีสายขิมวางพาดอยู่อันละ ๓ สาย เมื่อรวมกันแล้วขิมตัว หนึ่งจึงมี ๔๒ สายพอดี พิณชนิดนี้มีจ� ำนวนสายรองลงมาจากพิณ Zither ของยุโรป ปัจุบันขิมของไทย ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นขิมแบบ ๙ หย่อง ๑๑ หย่อง และ ๑๕ หย่อง จึงมีจ� ำนวนสายมากกว่า ๔๒ เส้น แต่ก็ถือว่ารวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=