สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การบรรเลงพิ ณไร้สาย 194 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ควบคุมบังคับเสียงขณะที่บรรเลงได้อย่างไพเราะน่าฟัง นั่นก็คือที่มาของบทความ “การบรรเลงพิณไร้สาย” *บรรยายในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ก่อนที่จะน� ำเอาเรื่องราวของเครื่องดนตรีแปลกประหลาดที่เรียกว่า “พิณไร้สาย” มาเล่าให้ฟังขอ เล่าถึงเรื่องราวของพิณชนิดต่าง ๆ เท่าที่เคยปรากฏและเป็นที่รู้จักกันให้ทราบพอสังเขป โดยจะเรียงล� ำดับ ประเภทตาม “จ� ำนวนของสายพิณ” ดังนี้ พิณ ๑๐๐ สาย พิณชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีโบราณของอินเดีย มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Santoor ที่จริงมีเพียง ๙๐ สาย แต่นิยมเรียกกันว่ า “พิณ ๑๐๐ สาย” ตัวพิณเป็นกล่องรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ภายในกลวง บริเวณด้านบนมีสายโลหะขึงตึงพาดเรียงรายในแนว ยาวจ� ำนวน ๙๐ สายโดยมีลิ่มไม้เล็ก ๆ เรียกว่า “หย่อง” (fret) หนุนรองรับไว้ทุกสาย ดังในภาพ ฐานของหย่องท� ำด้วยหมุดไม้เป็นรูปแท่งทรงกลมอิสระคล้าย ตัวหมากรุกขนาดเล็กจ� ำนวน ๓๐ อัน ด้านบนของหย่องแต่ละอันมีสันหนา และแข็งส� ำหรับใช้วางพาด สายพิณจ� ำนวนหย่องละ ๓ สาย หมุดหรือหย่องเหล่านี้วางเรียงกันลงมาตามแนวตั้ง โดยแบ่งเป็น ๒ แถว ๆ ละ ๑๕ อัน ใช้ส� ำหรับรองรับสายพิณไว้อันละ ๓ สาย ดังนั้นเมื่อรวมจ� ำนวนสายทั้งสิ้น จึงเท่ากับ ๓๐ × ๓ เป็น ๙๐ สายพอดี แต่นิยมเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “พิณ ๑๐๐ สาย” (เดิมอาจจะ มีจ� ำนวนหย่องมากกว่า ๓๐ อันก็ได้) ขณะที่บรรเลงพิณชนิดนี้ นักดนตรีจะใช้ท่อนไม้ขนาดเล็กที่มีลักษณะ ปลายเรียวโค้งงอนขึ้นคล้ายกับรูปเดือนเสี้ยว “เคาะ” หรือ “ตี” ลงไปบนสายเพื่อให้เกิดเสียง จึงกล่าวได้ ว่าพิณโบราณของอินเดียที่เรียกว่า Santoor นี้เป็นพิณที่มีจ� ำนวนสายมากที่สุด พิณ ๕๐ สาย พิณโบราณของจีนที่เรียกว่า “คงโหว” (Konghou) เป็นพิณขนาด ใหญ่ที่มีจ� ำนวนสายรองลงมาจากพิณ Santoor ของอินเดีย คือมีสาย ๕๐ สาย ขึงเรียงกันลงมาในแนวตั้งในกรอบของตัวพิณที่มีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยม โดยแบ่งออกเป็น ๒ ฝั่ง ๆ ละ ๒๕ สาย วางดีดในแนวตั้งคล้ายกับพิณของ ชาวยุโรปที่เรียกว่า “Harp” แต่ต่างกันตรงที่คงโหวมีกล่องขยายเสียงที่เรียกว่า “กระพุ้งพิณ” ซึ่งมี “ชิ้นไม้เล็ก ๆ (fret)” วางรองรับสายพิณแต่ละสายเอา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=