สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

189 ณั ชชา พั นธุ์เจริ ญ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ท่อนที่ ๒ เที่ยวหวาน (ห้องที่ ๘๐-๑๑๒) ในอัตราจังหวะช้า ท� ำนองเดี่ยวเปียโนของท่อนนี้ อ่อนหวานและสะเทือนใจมากกว่าท่อนที่ ๑ วงดุริยางค์บรรเลงแนวสนับสนุนอย่างอ่อนหวานเช่นกัน แล้วเพิ่มความหนาแน่นของเสียงมากขึ้นจนถึงจุดที่เรียกได้ว่าเป็นจุดสูงสุดในห้องที่ ๙๖ ด้วยเสียงทรงพลัง ทั้งในแนวเปียโนและวงดุริยางค์ เครื่องสายเสียงสูงจะเล่นโน้ตตัวเดียวกับเปียโนไปพร้อม ๆ กันเป็นระยะ ๔ ห้อง จากนั้นวงดุริยางค์ก็ปรับบทบาทเป็นผู้สนับสนุนโดยลดบทบาทลงตามล� ำดับ จนถึงช่วงท้ายซึ่ง ส่งเข้าเที่ยวเก็บ ท่อนที่ ๒ เที่ยวเก็บ (ห้องที่ ๑๑๒-๑๔๔) ในอัตราจังหวะเร็ว วงดุริยางค์ยังคงแสดงบทบาท สนับสนุนแนวเดี่ยวเปียโนเช่นเดียวกับเที่ยวเก็บของท่อนที่ ๑ แต่ในท่อนที่ ๒ วงดุริยางค์จะบรรเลงท� ำนอง สอดประสานสั้น ๆ และยังคงท� ำหน้าที่ส่งเข้าจังหวะแรกของห้องหรือของประโยค โดยรวมแล้วความ สัมพันธ์ระหว่างวงดุริยางค์กับเปียโนเข้มข้นและเข้มแข็งมากขึ้น จุดที่น่าสนใจคือ ช่วงที่เปียโนเล่นช่วงคู่ แปดทั้ง ๒ มือโดยไล่โน้ตครึ่งเสียงแทรกอยู่ในท� ำนองอย่างโดดเด่น จากช่วงคู่แปดระหว่าง ๒ มือที่อยู่ชิด กันกลางเปียโน แล้วถอยห่างออกไปตามล� ำดับจนมือทั้งสองอยู่ห่างกันประมาณ ๔ ช่วงคู่แปด ซึ่งเป็นช่วง ที่นักเปียโนได้แสดงศักยภาพเป็นพิเศษในห้องที่ ๑๒๔-๑๒๗ เป็นระยะ ๔ ห้อง ในช่วง ๔ ห้องดังกล่าว วงดุริยางค์เล่นเน้นคอร์ดบนจังหวะแรกของห้อง ลีลาดนตรีช่วยส่งให้ช่วงนี้เป็นช่วงสูงสุดของท่อน หลัง จากนั้นวงดุริยางค์กลับไปท� ำหน้าที่สนับสนุนเช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ก่อนเข้าสู่เที่ยวหวานของท่อนที่ ๓ แนวเครื่องสายเดินท� ำนองไพเราะไปพร้อม ๆ กับแนวเปียโน ท่อนที่ ๓ เที่ยวหวาน (ห้องที่ ๑๔๔-๑๘๔) ในอัตราจังหวะช้า เมื่อเข้าสู่เที่ยวหวานในท่อน สุดท้าย แม้วงดุริยางค์จะยังรักษาบทบาทสนับสนุน แต่เนื้อดนตรีโดยรวมหนาแน่นขึ้นเล็กน้อย โดยวง จะสร้างเสียงที่ทรงพลังมากขึ้นจนถึงจุดที่ถือได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของท่อนถึง ๒ ครั้ง คือ ห้องที่ ๑๕๕ กับ ห้องที่ ๑๘๑ วิโอลาและเชลโลเล่นบทเด่นขึ้นในท่อนนี้โดยเล่นแนวท� ำนองสอดประสานกับเปียโน รวมทั้ง เล่นโน้ตตัวเดียวกับเปียโนเพื่อเพิ่มความเข้มเสียงอย่างเป็นเอกภาพ เสียงเต็มวงของวงดุริยางค์กับเปียโน ท� ำให้เกิดสุนทรียรสเต็มอิ่มเพื่อเตรียมเข้าสู่ช่วงแปรท� ำนองในเที่ยวเก็บต่อไป ท่อนที่ ๓ เที่ยวเก็บ (ห้องที่ ๑๘๔-๒๒๕) ในอัตราจังหวะเร็ว เป็นช่วงที่เปียโนใช้เทคนิคขั้นสูงสุด เช่นเดียวกับในวงดุริยางค์ เนื่องจากเป็นท่อนสุดท้ายที่เพลงจะน� ำไปสู่การจบที่น่าประทับใจ จึงพบว่ามีการ ใช้เทคนิคพิเศษอันหลากหลายในเครื่องสาย เช่น การดีดสาย การสีสาย และเทคนิคอื่น ที่ท� ำให้เกิดสีสัน เสียงแปลกออกไป การใช้ส่วนจังหวะไม่ปกติและจังหวะเน้น วงดุริยางค์แสดงหลายบทบาทในท่อนสุดท้าย นี้ ทั้งเป็นคอร์ดสนับสนุน เป็นท� ำนองโต้ตอบหรือท� ำนองสอดประสาน เพิ่มสีสัน สร้างอารมณ์ที่แตกต่าง ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปและแบบฉับพลัน วงดุริยางค์ช่วยสร้างเสียงอ่อนหวาน เสียงกร้าวดุดัน สร้างอารมณ์ เร้าใจ ท� ำให้ผู้ฟังติดตามบทเพลงไปจนจบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=