สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เส้นทางนั บศตวรรษของบทประพั นธ์เพลง “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” 188 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 Sebastian Bach, ค.ศ. ๑๖๘๕-๑๗๕๐ หรือ พ.ศ. ๒๒๒๘-๒๒๙๓) นักแต่งเพลงชาวเยอรมันในสมัย บาโรก ลีลาของบาคเป็นแบบแผนการเขียนท� ำนองตั้งแต่ ๒ แนวขึ้นไปเล่นประชันในบทบาทที่เท่าเทียมกัน ท� ำให้เกิดเนื้อดนตรีที่เรียกว่า เนื้อดนตรีหลากแนว (polyphony) ท� ำนองเพลงในเที่ยวเก็บซึ่งเป็นทางแปร ของเที่ยวหวานอยู่ในมือขวา เป็นทางแปรที่ใช้โน้ตเดินถี่ ในลักษณะจังหวะที่ค่อนข้างสม�่ ำเสมอ ส่วนมือซ้าย เล่นท� ำนองสอดประสานด้วยบทบาทที่ไม่เป็นรอง ทั้งสองแนวมีอิสระในการด� ำเนินท� ำนองเชิงประชันกัน อย่างไพเราะ เนื้อดนตรีมีมิติซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแนวตั้งและในแนวนอน เป็นการสร้างความเป็นศาสตร์ และศิลป์ขั้นสูงในอรรถรสดนตรี บทวิเคราะห์เพลงสารถีคอนแชร์โต สารถีคอนแชร์โต ส� ำหรับเดี่ยวเปียโนประชันกับวงดุริยางค์เครื่องสาย เป็นเพลงล� ำดับแรกในชุด “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร แต่งช่วงเกริ่นน� ำในจังหวะเร็ว ๑๕ ห้อง บรรเลงด้วยวงดุริยางค์ก่อนที่จะเริ่มเที่ยวหวานของท่อนที่ ๑ ในจังหวะช้า ในช่วงเกริ่นน� ำ (ห้องที่ ๑-๑๕) เริ่มด้วย ๓ ห้องแรกเป็นคอร์ดเน้น แล้วตามด้วยท� ำนองซึ่งตัดตอน มาจากช่วงท้ายของเที่ยวเก็บท่อนที่ ๑ ในลักษณะสอดประสานแนวท� ำนอง สอดรับกับแนวเดี่ยวเปียโน ที่เข้ามาเป็นครั้งแรกในห้องที่ ๑๖ ท่อนที่ ๑ เที่ยวหวาน (ห้องที่ ๑๖-๔๘) ในอัตราจังหวะช้า เปียโนเดี่ยวเข้ามา วงดุริยางค์เล่น คอร์ดเบา ๆ สนับสนุนเพียง ๒ ห้องแรกเท่านั้น แล้วเปียโนเดี่ยวแต่ล� ำพัง จนถึงห้องที่ ๒๔ วงดุริยางค์กลับ เข้ามาอีกครั้งในบทบาทเป็นรองเหมือนเดิม จากนั้นในขณะที่เปียโนยังเล่นแนวเดี่ยวอย่างวิจิตร วงดุริยางค์ เริ่มวางบทบาทส� ำคัญมากขึ้นตั้งแต่กลางห้องที่ ๓๗ ที่ค� ำบ่งชี้ให้บรรเลงด้วยความรู้สึกอย่างมาก (molto espressivo) วงดุริยางค์มีบทบาทมากขึ้นตามล� ำดับด้วยการบรรเลงท� ำนองที่แต่งขึ้นใหม่เพื่อสอดประสาน กับท� ำนองในแนวเปียโน ความเข้มข้นทวีขึ้นตามล� ำดับจนถึงจุดสูงสุดที่วงดุริยางค์กับเปียโนผสมกลมกลืน กันเป็นเนื้อเดียวในบทบาทที่เท่าเทียมกันในห้องที่ ๔๖ ซึ่งเล่นในจังหวะกระชั้นขึ้นเพื่อเตรียมเข้าสู่เที่ยว เก็บในจังหวะเร็ว ท่อนที่ ๑ เที่ยวเก็บ (ห้องที่ ๔๘-๘๐) ในอัตราจังหวะเร็ว ในช่วงนี้เปียโนแสดงบทบาทเด่น วงดุริยางค์บรรเลงสนับสนุนแต่เพียงเล็กน้อยเป็นวรรคสั้น ๆ โดยเน้นการส่งจังหวะไปยังจังหวะที่ ๑ ของห้อง หรือของประโยค ซึ่งช่วยให้แนวเปียโนที่ด� ำเนินต่อเนื่องยาวนานมีจังหวะยึดเกาะอย่างมั่นคง คอร์ดส� ำคัญ ที่พบในเที่ยวเก็บเกิดขึ้นในห้องที่ ๖๔ บนจังหวะที่ ๒ เมื่อเครื่องสายทุกแนวในวงดุริยางค์ใช้เทคนิคดีดสาย พร้อมกันค่อนข้างดังเพื่อเสริมความส� ำคัญของคอร์ดในแนวเปียโน หลังจากนั้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเปียโนกับ วงดุริยางค์เข้มข้นขึ้น มีแนวเลียนและแนวซ�้ ำก่อนที่จะโปรยกลับเข้าสู่จังหวะช้าในเที่ยวหวานของท่อนที่ ๒
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=