สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

187 ณั ชชา พั นธุ์เจริ ญ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์ “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” เป็นคอนแชร์โตเดี่ยว แต่ไม่ใช่คอนแชร์โตเดี่ยวในลีลาเดียว กับคอนแชร์โตเดี่ยวตามแบบแผนคลาสสิกของตะวันตก แนวคิดของ “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” คือ เปียโนเป็นเครื่องมือเดี่ยว เป็นตัวเอก โดยมีวงดุริยางค์แสดงบทบาทสนับสนุนและโต้ตอบ มีทั้งสลับ กันเล่นและคลุกเคล้าไปด้วยกันตามลีลาที่ผู้แต่งวางแนวทางไว้ และรักษาไว้ซึ่งทางเดี่ยวเปียโนของเดิม และแบบแผนหน้าทับของดนตรีไทย ในที่นี้ได้เลือกเฉพาะเพลงสารถี (สามชั้น) ซึ่งเป็นเพลงแรกจากชุด “เปียโนคอนแชร์โตแห่ง กรุงสยาม” มาเขียนบทอรรถาธิบายและบทวิเคราะห์ เพื่อเป็นตัวอย่างแนวทางในการวิเคราะห์เพลง เพลงสารถี (สามชั้น) เป็นบทประพันธ์ท� ำนองของพระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก หรือ มี ดุริยางกูร) เดิมเป็นอัตรา ๒ ชั้น มีชื่อว่า “สารถีชักรถ” เป็นเพลงประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๓ ท่อน พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก หรือ มี ดุริยางกูร) ไม่มีหลักฐานปีเกิดและเสียชีวิตที่ชัดเจน แต่ได้รับการบอกเล่าว่า ท่านเกิดช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ทรงครอง ราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒) เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว (ทรงครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) ได้รับพระราชทานต� ำแหน่งส� ำคัญคือ เจ้ากรมพิณพาทย์ วังหน้าของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๐๘) เพลงสารถี (สามชั้น) เป็นเพลงส� ำคัญเพลงหนึ่งในศาสตร์ดนตรีไทย ครูดนตรีส� ำนักต่าง ๆ นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) เป็นต้นมา ได้ประดิษฐ์ “ทางเดี่ยว” ส� ำหรับเครื่องดนตรีไทยหลายชนิด จนกลายเป็นเพลงเดี่ยวที่ได้รับความนิยม อย่างสูง พันเอก ชูชาติ พิทักษากร ได้เรียบเรียงขึ้นจากทางเดี่ยวคลาริเน็ตของร้อยเอก นพ ศรีเพ็ชรดี (พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๕๒๔) หัวหน้าวงจุลดุริยางค์กองทัพบก ศิษย์เอกฆ้องวงใหญ่ของจางวางทั่ว พาทยโกศล (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๘๑) พันเอก ชูชาติ พิทักษากร เรียบเรียงทางเดี่ยวเพลงสารถีส� ำหรับเปียโนไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ โดย ด� ำเนินตามขนบเพลงเดี่ยวเครื่องดนตรี กล่าวคือ ในแต่ละท่อนประกอบด้วยเที่ยวหวานและเที่ยวเก็บ โดย เที่ยวหวานกับเที่ยวเก็บเป็นทางแปรซึ่งกันและกัน เที่ยวหวานเป็นเที่ยวที่เลียนแบบเสียงร้องเอื้อนด้วยโน้ต ยาวซึ่งตกแต่งด้วยโน้ตประดับเป็นจ� ำนวนมาก ส่วนในเที่ยวเก็บ ท� ำนองเคลื่อนด้วยโน้ตถี่และกระชั้นขึ้นโดย มีโน้ตประดับแต่เพียงเล็กน้อย ในเที่ยวหวานใช้เสียงประสานในระบบอิงกุญแจเสียงตามแบบแผนคลาสสิก แทรกด้วยเสียง ประสานแบบครึ่งเสียง เช่น คอร์ดโดมินันต์ระดับสอง (secondary dominant) เที่ยวเก็บใช้หลักการ สอดประสานแนวท� ำนอง (counterpoint) ตามแบบอย่างของโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=