สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เส้นทางนั บศตวรรษของบทประพั นธ์เพลง “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” 186 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 เชลโลบรรเลงประชันกับวงดุริยางค์ ส่วนเพลงพญาโศกเป็นคอนแชร์โตส� ำหรับเปียโนกับโอโบบรรเลงประชัน กับวงดุริยางค์ ในการสร้างสรรค์ผลงาน “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตรมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างงานบูชาครูจึงคงไว้ซึ่งแนวเดี่ยวเปียโนต้นฉบับที่พันเอก ชูชาติ พิทักษากร ได้ประดิษฐ์ไว้อย่างครบถ้วน แต่พัฒนาองค์ความรู้ด้านดุริยางคศิลป์ตะวันตก ต่อยอดไปสู่บทเพลง คอนแชร์โตแบบคลาสสิก ใช้เทคนิคการเรียบเรียงเสียงวงดุริยางค์ให้มีสีสันเสียงไพเราะ สร้างแนวประกอบ ของแนวดนตรีในวงดุริยางค์ที่วิจิตรพิสดารด้วยเทคนิคการบรรเลงขั้นสูง ผสมผสานเสียงดนตรีที่งดงามที่สุด จากวัฒนธรรมดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก เพื่อให้ได้สุนทรียรสที่ลงตัว ผลงานชุดนี้สาธิตการต่อยอดผลงานดุริยางคศิลป์ชิ้นเอกของแผ่นดิน ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการ อนุรักษ์สมบัติล�้ ำค่าของชาติ ให้คนรุ่นหลังเข้าใจและเข้าถึง เน้นการสร้างงานดุริยางคศิลป์ที่ไพเราะ คน ทั่วไปที่ไม่ใช่นักดนตรีสามารถสัมผัสและซาบซึ้งได้ ทั้งนี้ไม่ได้ลดทอนความซับซ้อนของดนตรีไทยซึ่งถือเป็น ผลงานสร้างสรรค์ประเภทวิจิตรศิลป์ เป็นผลงานที่สะท้อนรสนิยมและรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมดนตรีของ ประเทศได้อย่างสมบูรณ์ แต่ประยุกต์ใช้ไวยากรณ์ดนตรีสากลเป็นหลัก และใช้เครื่องดนตรีสากลเป็นสื่อ วรรณกรรมเปียโนแห่งกรุงสยาม บทเพลงทั้ง ๗ บทในชุด “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” เป็นเพลงไทยเดิมที่มีชื่อเสียงและ เป็นอมตะมาช้านาน ประพันธ์โดยครูดนตรีไทยผู้ล่วงลับแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทเพลงชุดนี้ พันเอก ชูชาติ พิทักษากร (พ.ศ. ๒๔๗๗) ได้น� ำ “ทางดนตรี” ของครูดนตรีไทยหลายคนมาประดิษฐ์แนวเดี่ยวเปียโน อย่างวิจิตร และมอบหมายให้ศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ น� ำไปคิดค้นวิธีการบรรเลงด้วยลูกเล่น ดนตรีไทย และน� ำออกแสดงเผยแพร่ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางใน พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๒๖ และ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖ อนึ่ง ในการเผยแพร่บทเพลงชุดนี้ทิ้งช่วงเกือบ ๓๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ อาจารย์พิมพ์ชนก สุวรรณธาดา อาจารย์คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ได้บันทึกโน้ตสากลบทเพลงชุดนี้เป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า “วรรณกรรมเปียโนแห่งกรุงสยาม” และเพื่อให้กระแสของบทเพลงเดี่ยวเปียโนเพลงไทยชุดนี้มีความต่อเนื่อง ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร (พ.ศ. ๒๕๐๕) จึงสร้างสรรค์ผลงานต่อยอดอีกชุดหนึ่งชื่อ “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” ซึ่งเป็นบทประพันธ์เพลงที่น� ำแนวเดี่ยวเปียโนเพลงไทยของพันเอก ชูชาติ พิทักษากร ทั้งชุดมาเป็นวัตถุดิบ หลักในการประพันธ์เพลงชุดใหม่ในรูปแบบของเปียโนคอนแชร์โต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=