สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

185 ณั ชชา พั นธุ์เจริ ญ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๑ วง (แทนแม่น�้ ำเจ้าพระยา) และวงดุริยางค์ขนาดเล็กอีก ๔ วง (แทนแม่น�้ ำปิง แม่น�้ ำวัง แม่น�้ ำยม และ แม่น�้ ำน่าน) ใช้ผู้อ� ำนวยเพลง ๕ คน แต่ละวงเล่นสลับกันบ้าง เล่นโต้ตอบกันบ้าง และเล่นพร้อมกันบ้าง การประชันพบในหลายมิติ ทั้งการประชันระหว่างวง การประชันระหว่างนักดนตรีและกลุ่มนักดนตรี ทั้งในวงเดียวกันและต่างวงกัน นักดนตรีแต่ละคนมีแนวเดี่ยวแสดงฝีมือในลักษณะเดียวกับคอนแชร์โตวง ดุริยางค์ ใช้เสียงประสานก้าวหน้าทั้งแบบครึ่งเสียงและแบบเสียงกระด้าง บนพื้นฐานของท� ำนองและลีลา เพลงพื้นบ้านของไทย คอนแชร์โตแม่น�้ ำเหลือง เปียโนคอนแชร์โตในซีกโลกตะวันออกที่มีชื่อเสียงมากและได้รับความนิยมอย่างสูงในระดับสากล สืบเนื่องมาช้านานจนถึงปัจจุบันคือ “คอนแชร์โตแม่น�้ ำเหลือง” (Yellow River Concerto) ซึ่งเป็นเปียโน คอนแชร์โตของสาธารณรัฐประชาชนจีน “คอนแชร์โตแม่น�้ ำเหลือง” ประพันธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๙ ประพันธ์โดยกลุ่มนักแต่งเพลงซึ่งประกอบด้วยนักแต่งเพลงชาว จีนที่มีชื่อเสียง ๖ คน คัดท� ำนองเดิมที่รู้จักกันดีจากผลงานเพลงกระแสชาตินิยมชื่อ “Yellow River Great Chorus” ประพันธ์โดย เซียน ซิงไห่ (Xian Xinghai) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ซึ่งเป็นช่วงที่จีนท� ำสงครามกับญี่ปุ่น “คอนแชร์โตแม่น�้ ำเหลือง” เป็นผลงานเพลงคลาสสิกมาตรฐานสากลที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นจีน เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” เป็นบทประพันธ์เพลงร่วมสมัยโดยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ ผู้แต่งได้น� ำแนวเดี่ยวเปียโนเพลงไทยเดิมที่เรียบเรียงโดย พันเอก ชูชาติ พิทักษากร (ศิลปินแห่งชาติ) จ� ำนวนทั้งสิ้น ๗ เพลง มาเรียบเรียงใหม่ในรูปแบบของเปียโน คอนแชร์โตหรือรูปแบบของเปียโนเดี่ยวประชันกับวงดุริยางค์เครื่องสาย เป็นผลงานในระดับมาตรฐานสากล ที่พร้อมออกแสดงได้ทั่วโลกเช่นเดียวกับ “คอนแชร์โตแม่น�้ ำเหลือง” ใช้เวลาในการบรรเลงทั้งชุดประมาณ ๑ ชั่วโมง ออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” ประกอบด้วยบทเพลง ๗ เพลง หรือ ๗ ท่อน ได้แก่ ๑. สารถี ๒. เขมรไทรโยค ๓. ลาวแพน ๔. พญาโศก ๕. โสมส่องแสง ๖. นกขมิ้น ๗. ฟ้อนเงี้ยว โดยเพลงลาวแพน กับเพลงพญาโศกอยู่ในรูปแบบของคอนแชร์โตซ้อน (double concerto) ซึ่งหมายถึง คอนแชร์โตส� ำหรับ เครื่องดนตรีเอก ๒ เครื่องบรรเลงประชันกับวงดุริยางค์ เพลงลาวแพนเป็นคอนแชร์โตส� ำหรับเปียโนกับ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=