สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
183 ณั ชชา พั นธุ์เจริ ญ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ คอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว ในดนตรีคลาสสิกตะวันตก การประพันธ์เพลงให้เครื่องดนตรีประชันกันมีพัฒนาการต่อเนื่อง อันยาวนาน แนวคิดเรื่องการประชันเกิดจากฝีมือของนักดนตรีที่พัฒนาขึ้นตามล� ำดับ จนนักดนตรีสามารถ เล่นแนวบรรเลงซึ่งต้องใช้เทคนิคขั้นสูงขึ้น ซึ่งแต่เดิมนักดนตรีในวงมีบทบาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เมื่อ นักดนตรีกลุ่มหนึ่งเริ่มมีฝีมือเด่นชัดขึ้น จึงเกิดบทเพลงประเภทคอนแชร์โตเป็นครั้งแรกในสมัยบาโรก (Baroque Period, ค.ศ. ๑๖๐๐-๑๗๕๐ หรือ พ.ศ. ๒๑๔๓-๒๒๙๓) เรียกว่า คอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว (concerto grosso) ซึ่งเป็นบทเพลงที่เปิดโอกาสให้นักดนตรีกลุ่มที่เก่งกว่าได้มีบทบาทเหนือกว่านักดนตรี อื่นในวง นับเป็นคอนแชร์โตประเภทแรกที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก คอนแชร์โตเดี่ยว ในเวลาต่อมา นักดนตรีมีศักยภาพสูงขึ้นตามล� ำดับ สามารถแยกตัวออกมาเล่นเทคนิคยากขึ้น และแสดงความโดดเด่นให้ประจักษ์ เมื่อทักษะในการเดี่ยวเครื่องดนตรีพัฒนาขึ้น นักแต่งเพลงในสมัย คลาสสิก (Classical Period, ค.ศ. ๑๗๕๐-ประมาณ ๑๘๓๐ หรือ พ.ศ. ๒๒๙๓-ประมาณ ๒๓๗๓) จึงปรับรูปแบบของคอนแชร์โตให้เป็นการเดี่ยวเครื่องดนตรีประชันกับวงดุริยางค์ เรียกว่าคอนแชร์โตเดี่ยว (solo concerto) อันเป็นประเภทของคอนแชร์โตที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ปลายสมัยบาโรกและได้รับการ พัฒนาจนมีรูปแบบการน� ำเสนอที่ชัดเจนในสมัยคลาสสิก นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ค� ำว่า คอนแชร์โต จะหมายถึง คอนแชร์โตเดี่ยว ส่วนคอนแขร์โตกลุ่มเดี่ยวก็เสื่อมความนิยมลงไป คอนแชร์โตเดี่ยวซึ่งถือเป็นประเภทของคอนแชร์โตที่ส� ำคัญที่สุดนั้นมีพัฒนาการที่ชัดเจน ที่สุดด้วย เนื่องจากเป็นรูปแบบการประพันธ์เพลงคลาสสิกที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา กว่า ๒๐๐ ปี ความสัมพันธ์ระหว่างวงดุริยางค์กับเครื่องดนตรีเดี่ยวก็มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ในช่วงต้นของสมัยคลาสสิก ผู้เดี่ยวเป็นตัวเอก ส่วนวงดุริยางค์เป็นเพียงตัวประกอบ แนวเดี่ยวแสดงบทบาท อย่างเด่นชัดในขณะที่วงดุริยางค์ทั้งวงเล่นสนับสนุนเท่านั้น เครื่องดนตรีที่นิยมเดี่ยวกับวงดุริยางค์มากที่สุด คือ เปียโน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่ได้รับการพัฒนาจนได้มาตรฐานแล้วตั้งแต่สมัยคลาสสิก และเป็นเครื่องดนตรีที่มีพลังเสียงสู้กับวงดุริยางค์ได้ ในสมัยโรแมนติก (Romantic Period, ประมาณ ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๙๐๐ หรือ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๓-๒๔๔๓) ความสัมพันธ์ระหว่างวงดุริยางค์กับเครื่องดนตรีเดี่ยวเปลี่ยนไป วงดุริยางค์มีบทบาท มากขึ้น ไม่ใช่เป็นเพียงตัวประกอบ เครื่องดนตรีเดี่ยวกับวงดุริยางค์บรรเลงประชันโต้ตอบกันมากขึ้นด้วย เทคนิคที่ยากขึ้นทั้งสองฝ่าย แต่นักดนตรีเดี่ยวก็ยังเป็นตัวเอกอยู่ดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=