สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 เส้นทางนับศตวรรษของบทประพันธ์เพลง “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” * ณัชชา พันธุ์เจริญ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ คอนแชร์โต คอนแชร์โต (concerto) หรือบทบรรเลงประชัน เป็นประเภทหนึ่งของบทเพลงคลาสสิกตะวันตก มาตรฐาน เป็นบทเพลงบรรเลงที่เปิดโอกาสให้เครื่องดนตรีเดี่ยวแสดงความสามารถขั้นสูงในการบรรเลง ประชันกับวงดุริยางค์ มักมี ๓ ท่อน ท่อนแรกในอัตราเร็วมีโครงสร้างเป็นสังคีตลักษณ์โซนาตา เต็มไปด้วย เนื้อหาทางดนตรีที่เข้มข้น ท่อนกลางจังหวะช้าในลีลาอ่อนหวาน อาจอยู่ในสังคีตลักษณ์สามตอนหรือ สังคีตลักษณ์อื่น ส่วนท่อนสุดท้ายในอัตราเร็วมักอยู่ในสังคีตลักษณ์รอนโดที่มีชีวิตชีวา จุดเด่นประการหนึ่ง ของคอนแชร์โต คือ มีช่วงเดี่ยวที่นักดนตรีเดี่ยวได้อวดฝีมือเพียงคนเดียวในท่อนแรก และอาจมีช่วงเดี่ยวสั้น ๆ ในท่อนสุดท้าย ในช่วงเดี่ยวนี้วงดุริยางค์จะหยุดบรรเลง และจะเข้ามารับพร้อมกันทั้งวงเมื่อช่วงเดี่ยวสิ้นสุดลง บทคัดย่อ “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” (Piano Concerto of Siam) เป็นผลงานสร้างสรรค์ ดุริยางคศิลป์ในระดับวิจิตร แสดงเส้นทางเดินอันยาวนานจากบทเพลงไทยเดิมที่ประพันธ์ขึ้นตั้งแต่ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผ่านการบรรเลง การประดิษฐ์ “ทางดนตรี” และการขัดเกลาของส� ำนัก ดนตรีหลายส� ำนัก จากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเครื่อง ดนตรีสากลเข้ามามีบทบาทในการบรรเลงเพลงไทยด้วย นับแต่นั้นเป็นต้นมาได้เกิดกระบวนการเรียน การสอนดนตรีสากลให้บรรเลงเพลงไทยแบบ “ต่อมือ” หรือท่องจ� ำ ตามธรรมเนียมการเรียนการสอน ดนตรีไทย ผลงานเหล่านี้ได้ผ่านการประดิษฐ์ “ทางดนตรี” ส� ำหรับเครื่องดนตรีสากล ผ่านการเรียบ เรียงเสียงประสาน เรียบเรียงเสียงวงดุริยางค์สากล และผ่านการประพันธ์เพลงต่อยอดจากผลงาน ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ด้วยการประยุกต์แนวดนตรีตามรสนิยมของศิลปินที่ได้รับการศึกษาจาก ซีกโลกตะวันตก ค� ำส� ำคัญ : เปียโน, คอนแชร์โต, เปียโนคอนแชร์โต, ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร, เพลงไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=