สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ข้อพิ จารณาทางกฎหมายส� ำหรั บการเคลื่ อนย้ายอย่างเสรี ของบุคคลผู้ให้บริ การวิ ชาชี พในประชาคมเศรษฐกิ จอาเซี ยนมายั งประเทศไทย 10 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ซึ่งปัจจุบันในภาพรวม รัฐสมาชิกยังไม่เปิดเสรีการให้บริการในเรื่องนี้มากนัก และมักจะวางเงื่อนไข หรือมาตรการที่ค่อนข้างเข้มงวดส� ำหรับการเข้ามาให้บริการในประเทศของตน ๑๔ นอกจากนั้น ภายใต้ ข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมกันดังกล่าว มิได้เป็นการให้สิทธิผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถเคลื่อนย้ายไปให้บริการหรือประกอบอาชีพในประเทศอาเซียนทั้งหลายได้โดยอัตโนมัติ แต่อย่างใด และต้องด� ำเนินการตามหลักเกณฑ์และระเบียบภายในที่แต่ละประเทศก� ำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็น การได้รับอนุญาตให้ท� ำงาน (work permit) หรือการได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพตามที่สภาวิชาชีพ แต่ละประเภทก� ำหนดไว้ ๒.๑.๒ กลไกในการด� ำเนินการ กลไกที่จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงจะช่วยให้การรับรองคุณสมบัติวิชาชีพและ การประกอบอาชีพถูกลดขั้นตอนลงจากเดิม และการรับรองจะก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์แก่ผู้ให้บริการ วิชาชีพและผู้ประกอบอาชีพในสาขานั้น คือ การได้รับการประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ อาเซียนอันเป็นปัจจัยส� ำคัญในการขอรับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยกลไกในการด� ำเนินการ ต้องอาศัยองค์กรที่มีอ� ำนาจหน้าที่และหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ดังจะได้อธิบาย ดังต่อไปนี้ ก) องค์กรที่มีอ� ำนาจหน้าที่ของรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกอาเซียนจะระบุชื่อองค์กรภายในที่รับผิดชอบของตน ซึ่งมี อ� ำนาจหน้าที่ในการก� ำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพและการประกอบอาชีพ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอ� ำนาจในการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานภูมิภาค และมาตรฐานสากล โดยองค์กรดังกล่าวจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะให้มีการพัฒนาให้ทันสมัยต่อคณะกรรมการประสานงานด้านวิชาชีพอาเซียนของสาขาวิชาชีพ นั้น ๆ หรือโดยผ่านสภาวิชาชีพอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีอ� ำนาจหน้าที่ ในการก� ำกับดูแลวิชาชีพของแต่ละประเทศสมาชิก นอกจากนี้ ในกรณีที่รัฐสมาชิกไม่มีองค์กรภายในที่รับผิดชอบในสาขา วิชาชีพ ก็อาจมีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมวิชาชีพในประเทศของตน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ คณะกรรมการวิชาชีพระดับชาติ มีหน้าที่ติดตาม และตรวจสอบมาตรฐาน ร่วมกันระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน และแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการประสานให้กลมกลืน ๑๔ สถาพร ใสเรียน, อ้างแล้ว, น. ๕๓.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=