สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
จิ ตรกรรมภาพเทวดาที่ ปรากฏในการสร้างพระเมรุมาศหรื อการสร้างพระเมรุ 176 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 พระหัตถ์ถือบ่วงบาศและคันศร ทรงพัตราภรณ์อย่างกษัตริย์ประดับด้วยไข่มุก พระพาย พระหัตถ์ถือ พระขรรค์ ผิวกายสีขาว สวมมงกุฎ พระอีสาน พระหัตถ์ถือพัดโบก ผิวกายสีส้ม สวมมงกุฎ พระเพลิง พระหัตถ์ถือหอก ผิวกายสีแดง สวมมงกุฎทรงน�้ ำเต้า พระนรภูติ พระหัตถ์ถือพระขรรค์ ผิวกายสีเขียว สวมมงกุฎ และในกรอบลูกฟักตอนล่างออกแบบเป็นลายกอดอกแก้วกัลยาอีกแบบหนึ่ง ส่วนกรอบลูกฟัก ตอนบนออกแบบเขียนเป็นลายเฟื่องอุบะ มีโครงสร้างของสีโดยรวมเป็นสีฟ้า นอกจากนี้ยังมีส่วนตกแต่ง ภายในพระเมรุและส่วนพื้นที่คอสองทั้ง ๔ ด้าน ผู้เขียนออกแบบเป็นภาพเทวดาเหาะพนมมือไหว้ถือ ช่อดอกแก้วกัลยา มีภาพเทวดาด้านละ ๖ องค์ ในบรรยากาศของภาพโดยรวมสีฟ้าเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน ฉากบังเพลิงทั้ง ๒ ชุดตั้งแสดง ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนภาพจิตรกรรมภาพ เทวดาเหาะเก็บรักษาที่วิทยาลัยช่างศิลป จ� ำนวน ๓ ชิ้น สูญหายระหว่างการรื้อถอน ๑ ชิ้น พระเมรุสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พุทธศักราช ๒๕๕๕ ณ ท้องสนามหลวง มีจิตรกรรมภาพเทวดาที่ฉากบังเพลิงชั้นนอก ผู้เขียนออกแบบเป็นภาพเทวดา ยืนแท่น พนมมือไหว้ ประกอบลวดลายก้านขดและซุ้มลอย โดยมีแนวคิดเบื้องต้นของการออกแบบจาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารหลวงวัดพระปฐมเจดีย์วรวิหาร ซึ่งเป็นจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาล ที่ ๖ ที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณีกับวิธีการเขียนภาพจิตรกรรม ร่วมสมัยของยุโรปในสมัยนั้น โดยมีเครื่องแต่งกายเทวดาเป็นเครื่องแต่งกายแบบละครมีเครื่องทรงเครื่อง ประดับเป็นมาลัยดอกไม้สด ส่วนในกรอบลูกฟักตอนล่างออกแบบเป็นลวดลายดอกไม้ประดิษฐ์ ในรูปทรง ดอกบัวตูม ๓ ดอก มีบรรยากาศของภาพโดยรวมสีชมพู ส่วนฉากบังเพลิงชั้นในอีกชุดหนึ่งตอนบนออกแบบ เป็นภาพหมู่เทวดาเหาะบนก้อนเมฆที่มีขนาดของตัวภาพลดหลั่นขนาดกัน ท� ำให้ภาพเกิดระยะใกล้ไกล ส่วนตอนล่างที่เป็นบานประตูเปิดปิด ออกแบบเป็นลวดลายบัว ๔ เหล่า ประกอบด้วย ลายกระหนกเปลว และลายพรรณพฤกษา ในบรรยากาศของภาพโดยรวมสีชมพูอมแดง ปัจจุบันเก็บรักษาและตั้งแสดงอยู่ที่ โรงราชรถ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จากการศึกษาค้นคว้ากล่าวสรุปโดยรวมถึงจิตรกรรมภาพเทวดาบนพระเมรุมาศหรือพระเมรุ พบว่ามีปรากฏอยู่ที่ฉากบังเพลิงมากที่สุด นอกจากนี้ยังใช้ตกแต่งภายใน ที่คอสอง ผนังและฉากบังเพลิง ชั้นใน มีขนบนิยมในการออกแบบเขียนภาพเทวดาในอิริยาบถ นั่ง เดิน ยืน เหาะ ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ไปตามยุคสมัย ในระยะหลังถึงปัจจุบันจะมีการใช้แนวความคิดในการออกแบบภาพให้เกี่ยวข้องกับพระบรมศพ หรือพระศพนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละครั้งตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันยังคงสืบทอด มรดกทางวัฒนธรรมตามแบบโบราณราชประเพณีไว้ได้เป็นอย่างดี และคงรักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม ของชาติสืบไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=