สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
175 สนั่ น รั ตนะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ เวลาในการออกแบบ เขียนแบบ และสามารถใช้ส่วนประกอบบางส่วนพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ที่กรมศิลปากรยังคงเก็บรักษาอยู่ ดังนั้น จิตรกรรมภาพเทวดาที่ฉาก บังเพลิงจึงมีรูปแบบเดียวกันกับฉากบังเพลิงพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล แต่ต่างกันเฉพาะภาพเขียนที่ช่องลูกฟักตอนบนมีการเปลี่ยนแปลงจากภาพค้างคาวคู่มาเป็นผีเสื้อคู่เท่านั้น พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าร� ำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ พุทธศักราช ๒๕๒๘ ณ ท้องสนามหลวง มีจิตรกรรมภาพเทวดาที่ฉากบังเพลิงพระเมรุมาศ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตอนกลางของฉากเขียนเป็นรูปเทวดายืนแท่นถือช่อดอกไม้ในอิริยาบถ ก้าวย่าง กรอบลูกฟักตอนล่างเขียนเป็นรูปกอบัวในน�้ ำ และกรอบลูกฟักตอนบนเขียนเป็นลวดลายเฟื่อง มีบรรยากาศของภาพโดยรวมสีน�้ ำเงิน ซึ่งเป็นผลงานเขียนของช่างเขียนส� ำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร พระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พุทธศักราช ๒๕๓๙ ณ ท้องสนามหลวง มีจิตรกรรมภาพเทวดาที่ฉากบังเพลิงทั้ง ๔ ด้าน ออกแบบและเขียนโดยคณะท� ำงานซึ่งเป็นครู อาจารย์ วิทยาลัยช่างศิลป ตอนกลางเขียนเป็นภาพเทวดายืนแท่น พระหัตถ์ข้างหนึ่งถืออาวุธ พระขรรค์ และ อีกข้างหนึ่งถือช่อลายกระหนก โดยมีต้นแบบความคิดจากลายแกะสลักไม้บานประตูซุ้มคูหาสถูป วัดพระศรีสรรเพ็ชญ สมัยอยุธยา ที่กรอบลูกฟักตอนล่างออกแบบเขียนเป็นลวดลายกอบัว ส่วนกรอบ ลูกฟักตอนบนออกแบบเป็นลวดลายก้านขดประกอบลายโคมไฟอัจกลับ มีบรรยากาศของภาพโดยรวม สีแดง ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พุทธศักราช ๒๕๕๑ ณ ท้องสนามหลวง จิตรกรรมภาพเทวดาที่ฉากบังเพลิงทั้ง ๔ ด้าน ออกแบบ และเขียน โดยคณะท� ำงาน ซึ่งเป็นครู อาจารย์ของวิทยาลัยช่างศิลป และคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยแบ่งแนวคิดการออกแบบเขียนภาพเทวดาออกเป็น ๒ แนวคือ เป็นภาพเทวดา นางฟ้าเหาะ อัญเชิญ เครื่องสูง ๒ ด้าน และภาพเทวดา นางฟ้าเหาะ บรรเลงดุริยดนตรี ๒ ด้าน ผู้รับผิดชอบในการเขียนเป็น ผู้ออกแบบภาพเทวดา นางฟ้า ด้านนั้น ๆ และมีลวดลายในกรอบลูกฟักตอนล่างเป็นลวดลายกอดอก แก้วกัลยา ส่วนกรอบลูกฟักตอนบนเขียนเป็นตราสัญลักษณ์ประจ� ำพระองค์ (กว) ประกอบลวดลาย ในบรรยากาศของภาพโดยรวมเป็นสีฟ้า ส่วนด้านในพระเมรุมีฉากบังเพลิงชั้นในอีกชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ของการก่อสร้างพระเมรุที่มีฉากบังเพลิงเพิ่มขึ้นภายใน อันเนื่องมาจากการพระราชทาน เพลิงพระศพด้วยเตาเผาสมัยใหม่ ฉากบังเพลิงภายในออกแบบเป็นภาพเทวดายืนแท่นเป็นเทพแห่งสวรรค์ ชั้นจตุมหาราชิกา ประจ� ำทิศทั้ง ๘ ประกอบด้วย ท้าวเวสสุวัณ หรือ กุเวร พระหัตถ์ถืออาวุธกระบอง มีผิวกายสีขาว ทรงอาภรณ์อย่างเทวดา ท้าวธตรฐ พระหัตถ์ถือบ่วงบาศและคันศร มีผิวกายสีขาว ทรงพัตราภรณ์อย่างกษัตริย์ ท้าววิรูปักษ์ พระหัตถ์ถือพระขรรค์ ผิวกายสีแก้วประพาฬ ท้าววิรุฬหก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=