สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
173 สนั่ น รั ตนะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ มีเนื้อหาสาระพรรณนาเป็นจดหมายเหตุงานพระราชทานเพลิงและฉลองพระอัฐิพระชนก พระชนนีของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ความตอนหนึ่งว่า “เบื้องในวิจิตรด้วย เลขา อดิเรกรูปเทวา วาดไว้ มีเทพกัลยา ยวนเสน่ห์ ถืออุบลบานไหว้ สถิตเฝ้าเคียงองค์” (ยิ้ม ปัณฑยางกูร. ๒๕๒๙ : ๑๐๓) เมื่อพิจารณาจากบทร้อยกรองแสดงให้เห็นว่าในสมัยนั้นมีขนบนิยมในการเขียนจิตรกรรมภาพ เทวดาตกแต่งภายในพระเมรุมาศ ซึ่งมีทั้งรูปเทวดาและนางฟ้าพนมมือไหว้ ถือดอกบัวเพื่อเป็นสัญลักษณ์ แสดงถึงการเฝ้าแหนสมมุติเทพที่เสด็จกลับคืนสู่สรวงสวรรค์ และยังคงท� ำตามแบบอย่างงานพระเมรุมาศ ครั้งสมัยอยุธยา พระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พุทธศักราช ๒๔๓๗ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส มีลักษณะเป็นพระเมรุผ้าขาวขนาดเล็กและเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายที่สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบพระเมรุในครั้งนี้ ปรากฏหลักฐานจิตรกรรมภาพเทวดา ที่ฉากบังเพลิงเขียนเป็นภาพเทวดายืนแท่น พระหัตถ์ถือพระขรรค์ และส่วนพื้นที่คอสองตอนบนทั้ง ๔ ด้าน ภายในพระเมรุเขียนเป็นภาพเทวดาเหาะ พระเมรุพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาค วดี พุทธศักราช ๒๔๔๗ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ อ� ำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปรากฏ หลักฐานเป็นรูปลายเส้น ในงานเขียนแบบรูปด้านองค์พระเมรุ ดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบภาพเทวดาบนฉากบังเพลิงเป็นเทวดายืนแท่น พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๕๓ ณ ท้องสนาม หลวงซึ่งเป็นพระเมรุมาศที่มีการก� ำหนดรูปแบบพระเมรุมาศแบบใหม่ที่ชัดเจน และเป็นแบบอย่างของ งานพระบรมศพในสมัยต่อมา ผลงานจิตรกรรมภาพเทวดาที่ปรากฏหลักฐานภาพถ่ายพระเมรุมาศ เป็น จิตรกรรมภาพเทวดาที่ฉากบังเพลิง รูปเทวดายืนพนมมือไหว้บนก้อนเมฆ ด้านละ ๑ คู่ ส่วนที่ตกแต่งตรง กรอบลูกฟักตอนล่างใต้ภาพเทวดาเขียนเป็นภาพครุฑยุคนาค และมีกลุ่มภาพเทวดาเหาะในกรอบสี่เหลี่ยม ขนาบ ๒ ข้างภาพเทวดายืนคู่นั้นด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=