สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ จิตรกรรมภาพเทวดาที่ปรากฏในการสร้างพระเมรุมาศ หรือการสร้างพระเมรุ * สนั่น รัตนะ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามโบราณราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน เมื่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี เสด็จสวรรคต หรือพระบรมวงศ์ สิ้นพระชนม์ พระมหากษัตริย์องค์ใหม่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบ� ำเพ็ญพระราชกุศล และพระราชทานเพลิงพระศพตามล� ำดับพระเกียรติยศหรือพระอิสริยศักดิ์ จึงมีการสร้างพระเมรุมาศหรือพระเมรุ ซึ่งจะมีขนาดรูปแบบงดงามวิจิตรแตกต่างกันไปตามยุคสมัย และ ตามแรงบันดาลใจของช่างที่ออกแบบ แต่ยังคงยึดถือตามคติโบราณที่สืบทอดต่อกันมา คือการก� ำหนด สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จะประกอบขึ้นเป็นพระเมรุมาศ หรือพระเมรุรวมถึงปริมณฑลพระราชพิธีส� ำหรับ การพระราชทานเพลิงพระศพ พระเมรุมาศหรือพระเมรุ เป็นสถาปัตยกรรมไทยแบบชั่วคราว ที่ปลูกสร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ของการจ� ำลองเขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อของคนไทยที่ยึดถือเรื่องไตรภูมิตามคติของพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนา ที่กล่าวถึงจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภพภูมิทั้งสาม ที่รายรอบด้วย สรรพสิ่งนานา ทั้งเขาสัตตบริภัณฑ์ สวรรค์ชั้นต่าง ๆ ท้าวจตุโลกบาล ป่าหิมพานต์ เป็นต้น เพื่อสมมุติให้ บทคัดย่อ การศึกษาจิตรกรรมภาพเทวดาที่ปรากฏในการสร้างพระเมรุมาศหรือ พระเมรุ มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นต� ำแหน่งการใช้ภาพเทวดาไว้เป็นแนวทางการสร้างสรรค์งานเขียนภาพ จิตรกรรม ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพที่มีการสร้างพระเมรุมาศหรือพระเมรุ จากการศึกษาหลักฐาน เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พบว่า ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายุคกลาง จนกระทั่ง ถึงรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการเขียนภาพจิตรกรรมที่เป็นภาพเทวดา นางฟ้า ยักษ์ ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง เหาะ ปรากฏอยู่ที่ฉากบังเพลิงมากที่สุด และยังมีการเขียนภาพเทวดาตกแต่ง ภายในที่ผนังและที่คอสองด้วย ปัจจุบันการพระราชทานเพลิงพระศพหรือพระบรมศพได้ใช้เตาเผา สมัยใหม่ จึงมีการเขียนจิตรกรรมภาพเทวดาที่ ฉากบังเพลิงชั้นในเพิ่มขึ้นอีกด้วย ค� ำส� ำคัญ : จิตรกรรมภาพเทวดา, พระเมรุมาศ, พระเมรุ, ฉากบังเพลิง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=