สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

9 จตุรนต์ ถิ ระวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ วิชาชีพวิศวกรรม วิชาชีพพยาบาล วิชาชีพสถาปัตยกรรม วิชาชีพการส� ำรวจ วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพ ทันตแพทย์ วิชาชีพบัญชี และล่าสุดคือข้อตกลงร่วมส� ำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว ข้อตกลงเหล่านี้ถือเป็นมาตรการในการลดข้อจ� ำกัดเกี่ยวกับคุณสมบัติในทางวิชาชีพของ บุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพและผู้ประกอบอาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาด การค้าบริการในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ๑๒ จึงสมควรพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลง ตามล� ำดับต่อไปนี้ คือ สถานะทางกฎหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการใช้บังคับ กลไกในการด� ำเนินการ ๒.๑ ความตกลงและกลไกในการด� ำเนินการ ๒.๑.๑ สถานะ วัตถุประสงค์ และขอบเขตการใช้บังคับของข้อตกลง ก) สถานะและวัตถุประสงค์ของข้อตกลง ปัจจุบัน รัฐสมาชิกอาเซียนได้ท� ำข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมกัน เกี่ยวกับคุณสมบัติวิชาชีพดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งมีผลผูกพันรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง รวมทั้งประเทศไทย ตามล� ำดับของการจัดท� ำข้อตกลงแต่ละฉบับ ข้อตกลงเหล่านี้มีวัตถุประสงค์หลักในการลดหรือขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีผลเป็นการจ� ำกัดการเข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะเงื่อนไขด้านการศึกษาและประสบการณ์และทักษะที่ เกี่ยวกับการให้บริการ กฎระเบียบเฉพาะของแต่ละประเทศสมาชิก ๑๓ การเจรจาท� ำข้อตกลงเพื่อหาการ ยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติของผู้ให้บริการวิชาชีพและผู้ประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ ในประเด็นที่เป็น อุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาดภาคบริการ ย่อมเกื้อหนุนให้เกิดโอกาสและความสะดวกในการเคลื่อนย้ายภายใน ประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้บริการวิชาชีพและท� ำงานในลักษณะอาชีพต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยให้มีการ แลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ดี อันจะช่วยยกมาตรฐานและคุณภาพ ของการให้บริการและการพัฒนาวิชาชีพในภาพรวมอีกด้วย ข) ขอบเขตการใช้บังคับของข้อตกลง ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อตกลง โดยหลักการคือ ผู้ถือสัญชาติของ รัฐสมาชิกอาเซียน ซึ่งแต่ละรัฐมีเขตอ� ำนาจจ� ำเพาะแต่ผู้เดียวที่จะก� ำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับสัญชาติ ของตน นอกจากนี้ ข้อตกลงนี้ใช้ส� ำหรับผู้ให้บริการหรือประกอบวิชาชีพตามที่ก� ำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ในข้อตกลง โดยมีขอบเขตที่เป็นไปตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในกรอบของข้อผูกพันตามการเจรจาของ AFAS ๑๒ นิโลบล ปางลิลาศ, “เคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเข้าสู่ตลาดอาเซียนอย่างเสรี : โอกาสและผลกระทบต่อไทย”, สถาบันระหว่างประเทศ เพื่อการค้าและพัฒนา, กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. ๒๕๕๔, น. ๔. ๑๓ สุทิวัส สร้อยทอง, “ข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียน”, วารสารการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวง พาณิชย์, ปีที่ ๒, มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕, น. ๓๗.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=