สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ข้อพิ จารณาทางกฎหมายส� ำหรั บการเคลื่ อนย้ายอย่างเสรี ของบุคคลผู้ให้บริ การวิ ชาชี พในประชาคมเศรษฐกิ จอาเซี ยนมายั งประเทศไทย 8 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ไปรับบริการนอกประเทศ ประเทศผู้รับการบริการอาจเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของตนได้ โดยอาศัย ผู้ให้บริการวิชาชีพที่มีทักษะซึ่งขาดแคลนในประเทศของตน อีกทั้งการเปิดเสรีมีแนวโน้มที่จะดึงดูดการ ลงทุนในประเทศให้มากขึ้นด้วย จากผู้ให้บริการต่างชาติซึ่งน� ำไปสู่การแข่งขันที่ส่งผลดีต่อราคาและคุณภาพ ของการให้บริการ รวมทั้งความหลากหลายของการให้บริการ อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีในด้านนี้ อาจก่อให้เกิดผลเสียขึ้นได้ เพราะมาตรฐาน และคุณภาพของบริการโดยผู้ให้บริการวิชาชีพในแต่ละสาขาและในแต่ละประเทศสมาชิกยังมีความ แตกต่างกันอยู่มาก อีกทั้งระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ รวมทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ อื่น ๆ เช่น ผลประโยชน์ตอบแทน อัตราการว่างงาน ล้วนมีความแตกต่างกันด้วย จึงอาจท� ำให้การแข่งขัน ด้านบริการเหล่านี้น� ำไปสู่การเคลื่อนย้ายบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพเข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งหากประเทศ นั้นมิได้เตรียมพร้อมเพื่อปรับตัวหรือหามาตรการเยียวยา ก็ย่อมต้องแบกรับภาระทั้งทางเศรษฐกิจและ สังคม หรือในกรณีที่บุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพประสบความส� ำเร็จในการแข่งขันในการให้บริการนอกประเทศ ของตนซึ่งให้อัตราค่าตอบแทนที่น่าสนใจกว่า ก็ยังอาจก่อให้เกิดผลเสียในแง่ของการขาดแคลนบุคลากร ในสาขาที่จ� ำต้องอาศัยบุคคลในวิชาชีพนั้น ๆ เช่น วิชาชีพทางการแพทย์ ๑๑ ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยหลักการแล้ว ข้อดีคือ การยกระดับความ สามารถของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพในประเทศและการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพอันน� ำไปสู่การ ยกระดับการอยู่ดีกินดีของประชาชนในสังคม ยิ่งกว่านั้นยังมีแนวโน้มไปสู่การร่วมมือกันในระดับระหว่าง ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนทั้งความรู้ทางวิชาการและด้านภาษาและวัฒนธรรม เพื่อใช้ในการประสานงาน และติดต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกย่อมมีภาระต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการสัญจรเข้ามาใน ประเทศของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิตามความตกลงข้างต้น โดยต้องมีมาตรการควบคุม และดูแลที่มีประสิทธิภาพ และช่วยให้การให้บริการตลอดจนการใช้ชีวิตของบุคคลเหล่านั้นในดินแดน ของตนเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่ขัดแย้งกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของตน ๒) ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการยอมรับร่วมกันเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพเพื่อการเคลื่อน ย้ายอย่างเสรีของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพและผลกระทบต่อกฎหมายไทย ข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติวิชาชีพ เป็นเครื่องมือในการสนับสนุน และส่งเสริมการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีด้านบริการส� ำหรับบุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของข้อตกลงแต่ละฉบับ ซึ่งในปัจจุบันได้ท� ำขึ้นใน ๗ สาขาบริการด้านวิชาชีพ กล่าวคือ ๑๑ ทพ.อนุศักดิ์ คงมาลัย. “บริการและวิชาชีพสุขภาพของไทยพร้อมรับเออีซีจริงหรือ?” มติชนรายวัน, วันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, น. ๗.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=