สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
157 นววรรณ พันธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๒) ชั่วนกเขาเหิน ชั่วย่างนกเขา ชั่วไก่บินตก ชั่วหลีกได้คนเดียว ชั่วปาก้อนดินตก (ตู้ทอง, น.๒) ภาษาไทที่ใช้ค� ำว่า ชั่ว ร่วมกับค� ำอื่นแสดงความยาว ความลึก หรือระยะทาง มีตัวอย่าง เช่น ภาษาไทขาว โจแซ่น หมายถึง ชั่วแขน โจแฅ้ก หมายถึง ชั่วร้องเรียกได้ยิน โจตฺซุ้ง หมายถึง ชั่วยิงถึง ภาษาไทเมืองเติ๊ก จัวฮั้ว หมายถึง ชั่วไม้ราวรั้ว คือประมาณ ๓ วา ใช้วัดพื้นที่ เช่น นา ไร่ จัวส้าว หมายถึง ชั่วไม้ส้าว คือ ประมาณ ๓-๔ วา ใช้วัดพื้นที่หรือวัดความสูงก็ได้ ภาษาไทเหนือ โตฺซก๊น หมายถึง ชั่วคน เช่น เลิ่กสองโตฺซก๊น (= ลึก ๒ ชั่วคน) เห็นได้ว่า คนไทยและคนที่พูดภาษาในตระกูลไทหลายกลุ่มใช้มือและแขนเป็นเครื่องวัด เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีความคิดท� ำนองเดียวกันในการเปรียบเทียบเพื่อบอกระยะเวลา ความยาว หรือ ระยะทาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=