สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ค� ำเกี่ ยวกั บการวั ดในภาษาไทย-ไท 152 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ในหนัง สือส� ำนวนไทย ของกาญจนาคพันธุ์ก็กล่าวถึงมาตราตวงไว้ ในค� ำอธิบายส� ำนวนเสียก� ำซ�้ ำ กอบ ก� ำหนดเป็นอัตราตรงกัน หน่วยวัดปริมาณที่ได้มาจากค� ำกริยามี ๔ ค� ำ ได้แก่ หยิบมือ ก� ำมือ ฟายมือ และกอบ ค� ำกริยา หยิบ ก� ำ และ กอบ สะท้อนความจริงที่ว่าคนไทยใช้มือในการวัดปริมาณ อาจจะหยิบ คือเอานิ้วมือจับขึ้น อาจจะก� ำ คือ งอนิ้วมือทั้งห้ารวบเอาไว้ หรืออาจจะกอบ คือใช้มือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อย ของมือชิดกันแล้วยกขึ้น ส่วนค� ำว่า ฟาย เป็นค� ำที่ชวนให้สงสัยอยู่บ้าง เพราะค� ำนี้มิได้ใช้ทั่วไป เราพบแต่ ในค� ำฟายมือ หมายถึง เต็มอุ้งมือ ร้องไห้ฟายน�้ ำตา หมายถึงร้องไห้พลางเอามือช้อนเช็ดน�้ ำตาที่อาบหน้า อยู่ ฟายหาง หมายถึง โบก สั่น หรือกระดิกหาง เช่น มหาชาติค� ำหลวง กัณฑ์มหาพน มีว่า “หงขาวหงแดง เฉอดฉรร ห่านเหอรจัปจรัล แลหงษฟ้าฟายหาง” อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาภาษาไทประกอบจะพบว่า ค� ำว่า ฟ้าย ในภาษาไทเหนือมี ๓ ความหมาย คือ หมายถึง พาย เช่น ฟ้ายเฮ้อ (= พายเรือ) หมายถึง โบก เช่น ฟ้ายมื้อ (= โบกมือ) หมายถึง สั่น กระดิก เช่น ฟ้ายหาง (= กระดิกหาง) สรุปว่า ฟาย หมายถึง ขยับเคลื่อนไหวเล็กน้อย ฟายมือ ในภาษาไทยจึงน่า จะหมายความว่า ขยับมือเล็กน้อยช้อนขึ้น แล้วต่อมาน� ำไปใช้เป็นมาตราวัดปริมาณได้ด้วย ในบรรดาค� ำ ๔ ค� ำ คือ หยิบ ก� ำ ฟาย และกอบ ค� ำที่เรามักน� ำมาใช้คู่กันคือ ก� ำ และกอบ ก� ำ มักหมายถึง ปริมาณน้อย กอบ หมายถึง ปริมาณมาก พบในส� ำนวน เช่น เสียก� ำซ�้ ำกอบ ซึ่งหมายถึง เสียไปเล็กน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เสียก� ำได้กอบ ซึ่งหมายถึง เสียไปน้อยแล้วจะได้มาก และเป็นกอบเป็นก� ำ ซึ่งหมายถึง เป็น ก้อนใหญ่ ท� ำประโยชน์ต่อไปได้ดี ๑.๒.๒ หน่วยวัดในภาษาไทที่ตรงกับภาษาไทย ภาษาไทบางภาษาน� ำค� ำว่า ก� ำ กอบ และ ฟาย มาใช้เป็นหน่วยวัดบอกปริมาณ ดังนี้ ก� ำ กอบ ฟาย ภาษาจ้วงใต้ ก�้ ำ ก้อบ ฝาย ภาษาไทขาว ก�่ ำ ก๊อบ ฟาย ภาษาลาว ก�่ ำ โก้บ, ก้อบ ฟาย ภาษาไทเหนือ ก� ำ กอบ - ภาษาไทพ่าเก่ - กอบ - นอกจากนั้น ภาษาไทบางภาษาน� ำค� ำกริยาที่หมายถึง หยิบ มาใช้เป็นลักษณนามบอกมาตราวัด บ้าง เช่น ภาษาลาวใช้ว่า ยิบ บางภาษาใช้ค� ำต่างออกไป เช่น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=