สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
151 นววรรณ พันธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ภาษาไทบางภาษามีค� ำบอกความยาวที่พิเศษออกไป คือ ภาษาไทเหนือมีค� ำว่า อ้ก หมายถึง อก และหมายถึงระยะความยาวจากปลายนิ้วเมื่อกางแขนออกถึงกึ่งกลางอก ภาษาไทยกรุงเทพฯ ไม่ได้ใช้ ค� ำว่า อก เป็นหน่วยวัด แต่ภาษาไทยถิ่นเหนือใช้ค� ำว่า อก เป็นหน่วยวัดด้วย ก� ำหนดความยาวตั้งแต่ปลาย แขนจนถึงปลายไหล่ของอีกด้านหนึ่ง ภาษาไทเมืองเติ๊กมีค� ำว่า แขน หมายถึง แขน และหมายถึงระยะความยาวจากปลายนิ้วถึงต้น แขน ค� ำว่า แขน นี้ ในสมัยก่อน ไทยเราอาจเคยใช้เป็นหน่วยวัดก็ได้ เพราะพบในวรรณคดีบางเรื่อง เช่น ๑ ผัวหาปลาผักได้นักหนา หม่อมเมียได้หน้าขึ้นกว่า แขน (บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง, น.๒๐๙) ๒ สาระวอนค่อนว่าประดาเสีย ให้หม่อมเมียได้หน้าขึ้นกว่าแขน (บทละครนอกเรื่องไกรทอง, น.๗๕) ส� ำนวน ได้หน้าขึ้นกว่าแขน ปัจจุบันไม่มีใช้ เคยได้ยินแต่ค� ำถามประชดประชันว่า ได้หน้ากี่ศอก ความยาวของหน้าลดลงจาก แขน เป็น ศอก ๑.๒ การวัดปริมาณ ๑.๒.๑ หน่วยวัดในมาตราตวงของไทย เราอาจใช้มือวัดปริมาณก็ได้ ค� ำแสดงการใช้มือวัดปริมาณมีอยู่ในมาตราตวง ดังที่ปรากฏ ในหนังสือสรุปวิทยาต่อไปนี้ มาตราส� ำหรับตวงของอย่างย่อ มาตรานี้ส� ำหรับตวงสิ่งของต่าง ๆ มีก� ำหนดตั้งแต่เกวียนลงไป ส่วนที่มากเกินไปกว่าเกวียนไม่ ก� ำหนดเปนอัตรา ที่มีก� ำหนดเปนอัตรานั้น ดังต่อไปนี้ ๑๕๐ เมล็ดเข้า เปน ๑ หยิบมือ ๔ หยิบมือ “ ๑ ก� ำมือ ๔ ก� ำมือ “ ๑ ฟายมือ ๒ ฟายมือ “ ๑ กอบ ๔ กอบ “ ๑ ทนาน ๒๕ ทนาน “ ๑ สัด ๘๐ สัด “ ๑ เกวียน ซึ่งว่า หยิบมือ ในมาตรานี้ คือหยิบ ๕ นิ้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=