สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

7 จตุรนต์ ถิ ระวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ภายใน พ.ศ. ๒๕๕๖ ส่วนสาขาอื่น ๆ ก� ำหนดไว้ภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ เช่น การค้าบริการธุรกิจ การศึกษา การโทรคมนาคม ทั้งนี้ โดยให้มีการเจรจาเป็นรอบ ๆ รอบละ ๒ ปี และให้ท� ำตารางข้อผูกพัน ส� ำหรับทุกรอบการเจรจา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่มีข้อจ� ำกัดส� ำหรับการค้าบริการรูปแบบที่ ๑ และ ๒ ยกเว้น กรณีมีเหตุอันสมควร อีกทั้งต้องขจัดอุปสรรคและข้อจ� ำกัดการเข้าสู่ตลาดส� ำหรับการค้าบริการรูปแบบที่ ๓ อย่างก้าวหน้าภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่ส� ำคัญคือ การอนุญาตให้บุคคลที่มีสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน ถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๑ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ และร้อยละ ๗๐ ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ส� ำหรับสาขาบริการ เร่งรัด และร้อยละ ๔๙ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ร้อยละ ๕๑ ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ และร้อยละ ๗๐ ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ ส� ำหรับสาขาโลจิสติกส์และร้อยละ ๔๙ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ร้อยละ ๕๑ ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ และร้อยละ ๗๐ ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ส� ำหรับสาขาบริการอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น ๑๒๘ สาขาย่อย แต่อนุญาตให้จัดท� ำตารางได้อย่าง ยืดหยุ่น (flexibility) เช่น การจัดท� ำในรอบถัดไป หรือการทดแทนด้วยสาขาอื่นนอกเหนือจากที่เคยตกลง กันไว้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดท� ำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพต่าง ๆ ก็มีกรอบ เวลาให้ไว้อย่างชัดเจนในแต่ละสาขา โดยให้ด� ำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจะได้วิเคราะห์ ต่อไปในส่วนที่ ๒ ๑.๒.๒ ผลที่ตามมาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเคลื่อนย้ายบุคคลผู้ให้บริการในสาขาวิชาชีพที่ตกลงกันย่อมก่อให้เกิด การขยายตัวของการค้าบริการ รวมทั้งการหมุนเวียนของบุคลากรในภาคบริการสาขาต่าง ๆ อีกด้วย ในขณะเดียวกัน ประเทศสมาชิกอาเซียนย่อมจะได้รับผลดี ทั้งในฐานะเป็นผู้ส่งออกผู้ให้บริการไปยัง ดินแดนของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในภูมิภาค ในทางกลับกันประเทศสมาชิกอาจได้รับผลกระทบในทางลบ โดยเฉพาะในฐานะประเทศผู้รับบริการ ๑๐ ซึ่งอาจแยกพิจารณาด้านต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้ ด้านเศรษฐกิจ ในแง่บวก การเคลื่อนย้ายบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพย่อม กระตุ้นให้มีการขยายตัวด้านการค้าบริการส� ำหรับการค้าระหว่างประเทศและการค้าภายในประเทศ อันน� ำไปสู่การจ้างงานที่สูงขึ้น และท� ำให้อัตราค่าจ้างในธุรกิจบริการ มาตรฐานการให้บริการ ตลอดจน ความก้าวหน้าในวิชาชีพมีระดับที่สูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ การเปิดเสรีการค้าบริการโดยหลักการ แล้ว อาจสร้างคุณประโยชน์ให้ทั้งผู้บริโภคและผู้รับบริการได้ด้วย กล่าวคือ ผู้บริโภคไม่จ� ำต้องเดินทาง ๑๐ พัชราวลัย วงศ์บุญสิน และคณะ, “การย้ายถิ่นข้ามชาติกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอาเซียน : นโยบายและผลกระทบ”, วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๔๔, น. ๔๓-๔๗.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=