สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
149 นววรรณ พันธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ นิ้ว (อ.) นิ้ว (ว.) ศอก (อ.) ศอก (ว.) ภาษาจ้วงใต้ นิ๋ว - ต้อกซอก - ภาษาไทขาว หนิ่ว - แข่นซ้อก ซ้อก ภาษาไทเมืองเติ๊ก นิ้ว - แขนสอก สอก ภาษาลาว นี่ว นี่ว ซอก ซอก ภาษาไทใหญ่ นิ่ว นิ่ว สอก สอก ภาษาไทเหนือ เล่ว - สอก,โหสอก สอก ภาษาไทพ่าเก่ นิ่ว นิ่ว ซ้อก - ภาษาไท ๓ ภาษา คือ ภาษาลาว ภาษาไทใหญ่ และภาษาไทพ่าเก่ ใช้ค� ำเรียก นิ้ว เป็นหน่วยวัด ด้วย พจนานุกรมภาษาพ่าเก่-ไทย-อังกฤษ บอกความยาวของนิ้วของไทพ่าเก่เทียบกับนิ้วของอังกฤษว่า ๒ นิ้วของไทพ่าเก่เท่ากับ ๑ ๑/๒ นิ้วของอังกฤษ ภาษาไท ๕ ภาษา คือ ภาษาไทขาว ภาษาไทเมืองเติ๊ก ภาษาลาว ภาษาไทใหญ่ และภาษาไท เหนือ ใช้ค� ำหรือส่วนของค� ำเรียกศอก เป็นหน่วยวัดด้วย ส่วนค� ำกริยา คืบ และ วา ภาษาไทบางภาษาก็ใช้เป็นหน่วยวัด เช่นเดียวกับภาษาไทย ดังนี้ คืบ วา ภาษาไทขาว ฃึบ วา ภาษาไทเมืองเติ๊ก คึบ ว้า ภาษาลาว คืบ ว้า ภาษาไทใหญ่ - ว้า ภาษาไทเหนือ คึ่บ ว้า ภาษาไทพ่าเก่ คึ่บ ว้า ระยะคืบหนึ่ง ในภาษาไทขาวนั้นอาจเป็นระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วชี้ก็ได้ เรียกว่า ฃึบจี่ (หนิ่วจี่ = นิ้วชี้) หรือเป็นระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางก็ได้ เรียกว่า ฃึบโด๊ (หนิ่วโด๊ = นิ้วกลาง) ๑.๑.๓ หน่วยวัดอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในมาตราวัดสั้นยาว ในภาษาไทยเรา นอกจากจะมีหน่วยวัด นิ้ว ศอก คืบ วา ซึ่งเป็นหน่วยวัดในมาตราวัดที่ กล่าวมาแล้ว ยังมีหน่วยวัดอื่น ๆ ซึ่งชื่อที่เรียกได้มาจากชื่ออวัยวะหรือค� ำกริยาแสดงอาการของอวัยวะ ได้แก่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=