สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ค� ำเกี่ ยวกั บการวั ดในภาษาไทย-ไท 148 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ว่า กางแขนออก จึงน่าจะเป็นความหมายเดิมของค� ำว่า วา แต่ค� ำว่า วา ไม่ใช้ล� ำพังในภาษาไทยกรุงเทพฯ ต้องใช้ซ้อนกับค� ำว่า วัด เป็น วัดวา เช่น โคลงโลกนิติ บทหนึ่งมีว่า พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้ เขาสูงอาจวัดวา ก� ำหนด จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาลาว ค� ำว่า วา ไม่ต้องใช้ซ้อนกับค� ำว่า วัด ก็ได้ ใน พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง มีตัวอย่าง วาตีนวามือ หมายถึง อ้าขาผวาปีก, กางแขน กางขา วาปีก หมายถึง กางปีกร่อนไปมา และใน พจนานุกรมลาว-ไทย มีตัวอย่าง วาแขน หมายถึง กางแขน วาปีก หมายถึง กางปีก ตัวอย่างการใช้ค� ำว่า วา ในภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาลาว ท� ำให้สันนิษฐาน ได้ว่า เดิมค� ำว่า วา หมายถึง กางแขน ต่อมาได้ขยายความหมายมาเป็นชื่อหน่วยวัด และใช้ในความหมาย นี้เรื่อยมาในภาษาไทยกรุงเทพฯ ค� ำว่า นิ้ว ศอก คืบ และ วา นี้ คนไทยน่าจะใช้เป็นหน่วยวัดมานานแล้ว มีหลักฐานคือ ค� ำว่า นิ้ว ศอก วา ปรากฏในจารึกสมัยสุโขทัยบางหลัก เช่น จารึก พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช และจารึกวัดเขมา ดังนี้ ๑ รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๗-๘) ๒ แต่นี้เจ้าเทพรูจีแต่งเครื่องส� ำรับไว้กับพระพุทธเจ้าในพิหาร ผ้าเบงจตีผืนหนึ่งค่าสองต� ำลึง เป็นอาสน บาตรทองเหลืองดวงหนึ่ง ค่าต� ำลึงหนึ่ง เป็นบาตรพระจ้า ลางพานเทสดวงหนึ่ง หน้าศอกสี่นิ้ว ค่าสองต� ำลึง... (จารึกวัดเขมา ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๕-๑๘) นอกจากนั้น ค� ำว่า นิ้ว ศอก คืบ วา ก็ปรากฏในส� ำนวนหลายส� ำนวน เช่น ทุกกระเบียดนิ้ว คืบก็ ทะเล ศอกก็ทะเล ได้คืบจะเอาศอก ไปไหนมา สามวาสองศอก ๑.๑.๒ หน่วยวัดในภาษาไทที่ตรงกับภาษาไทย คนที่พูดภาษาตระกูลไทกลุ่มอื่นหลายกลุ่มน� ำค� ำว่า นิ้ว ศอก คืบ และ วา มาใช้เป็น ค� ำเรียกหน่วยวัดเช่นเดียวกับคนไทย ภาษาไททั้ง ๗ ภาษาที่ส� ำรวจมีค� ำเรียกนิ้วและศอกคล้ายภาษาไทย และบางภาษาน� ำค� ำหรือส่วนของค� ำที่เรียกนิ้วและศอกมาใช้เรียกหน่วยวัดด้วย ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=