สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ค� ำเกี่ยวกับการวัดในภาษาไทย-ไท นววรรณ พันธุเมธา ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ค� ำเกี่ยวกับการวัดในภาษาไทยบางค� ำคล้ายกับค� ำเกี่ยวกับการวัดในภาษาตระกูลไทหลาย ภาษา เช่น ภาษาไทขาว ภาษาไทพ่าเก่ ค� ำที่คล้ายกันเหล่านี้ใช้เรียกหน่วยวัดความยาว และหน่วย วัดปริมาณ ค� ำที่เรียกหน่วยวัดความยาวมาจากชื่ออวัยวะ เช่น นิ้ว ศอก หรือมาจากค� ำบอกอาการ ของอวัยวะ เช่น คืบ วา ส่วนค� ำที่เรียกหน่วยวัดปริมาณล้วนมาจากค� ำบอกอาหารของอวัยวะ เช่น หยิบมือ ก� ำมือ นอกจากค� ำเรียกหน่วยวัด ภาษาไทยและภาษาตระกูลไทหลายภาษาใช้ค� ำว่า ชั่ว ร่วมกับค� ำอื่น เช่น ค� ำบอกบุคคล หรือค� ำแสดงกิริยาอาการของบุคคลเพื่อบอกระยะเวลา ความยาว หรือระยะทาง ตัวอย่างทั้งหมดในบทความแสดงให้เห็นความคล้ายกันระหว่างภาษาไทย กับภาษาหลายภาษาในตระกูลไท ค� ำส� ำคัญ : ค� ำเกี่ยวกับการวัด บทความนี้มุ่งแสดงความคล้ายคลึงกันระหว่างค� ำเกี่ยวกับการวัดในภาษาไทย และภาษาใน ตระกูลไทที่พูดกันนอกประเทศไทย ซึ่งจะเรียกว่า ภาษาไท ภาษาไทที่น� ำมาศึกษาได้แก่ ภาษาจ้วงใต้ พูดที่อ� ำเภอเต๋อเป่า เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน ภาษาไทขาว พูดที่เมืองไล สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภาษาไทเมืองเติ๊ก พูดที่เมืองเติ๊ก สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภาษาลาว พูดที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาษาไทใหญ่ พูดที่รัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ภาษาไทพ่าเก่ พูดที่รัฐอัสสัม สาธารณรัฐอินเดีย ภาษาไทเหนือ พูดที่เมืองขอน มณฑลหยุนหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ความคล้ายคลึงกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาไทที่น� ำมาศึกษา คือ ค� ำบอกหน่วยวัดบางค� ำมา จากชื่ออวัยวะ และบางค� ำมาจากค� ำกริยาที่แสดงอาการของอวัยวะ นอกจากนี้ มีค� ำที่น่าสังเกตค� ำหนึ่งคือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=