สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ข้อพิ จารณาทางกฎหมายส� ำหรั บการเคลื่ อนย้ายอย่างเสรี ของบุคคลผู้ให้บริ การวิ ชาชี พในประชาคมเศรษฐกิ จอาเซี ยนมายั งประเทศไทย 6 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ๑.๒.๑ การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลธรรมดาผู้ประกอบวิชาชีพในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผู้น� ำประเทศสมาชิกอาเซียนตัดสินใจร่วมกันที่จะผลักดันให้ประเทศในภูมิภาค มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียม โดยลดความยากจนและความแตกต่างด้านสังคมและเศรษฐกิจตามวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๐๐ ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๙ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย บรรดาผู้น� ำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ประกาศถึงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในแถลงการณ์ บาหลี ฉบับที่ ๒ เพื่อให้เป็น ๑ ใน ๓ เสาหลักในประชาคมอาเซียน โดยยืนยันที่จะเร่งรัดการจัดตั้งให้แล้ว เสร็จภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ จากเดิมที่ก� ำหนดไว้ใน พ.ศ. ๒๕๖๓ ส� ำหรับเป้าหมายหลักคือ ประการแรก การท� ำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว ซึ่ง ปรากฏในกฎบัตรอาเซียนและแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีการลงนามในการ ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยถือเป็น หนึ่งในกลยุทธ์เพื่อน� ำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งต้องอาศัยการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี การเคลื่อนย้ายการบริการอย่างเสรี การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะอย่างเสรี โดยการยกเลิกมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการ เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตในตลาดเดียวเหล่านี้ และโดยที่ปัจจัยการผลิตด้านบุคลากรหรือแรงงานก็เป็น ปัจจัยการผลิตที่จ� ำเป็นยิ่งประการหนึ่ง จึงจ� ำเป็นต้องด� ำเนินการในเรื่องนี้ด้วย ประการที่ ๒ การท� ำให้เกิดการเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรีในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน จากการที่ความตกลงการค้าบริการอาเซียนเป็นเพียงกรอบการด� ำเนินงานที่ปราศจาก แนวทางที่ชัดเจน ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ เมืองเซบู ประเทศ ฟิลิปปินส์ ได้มีมติให้ประเทศสมาชิกอาเซียนปรับปรุงข้อผูกพันการเปิดตลาดในประเทศของตนภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ และมีการก� ำหนดกระบวนการ ขั้นตอน กรอบเวลาขึ้นใหม่ให้ชัดเจน ๙ โดยมีสาระส� ำคัญคือ การเปิดเสรีและขจัดข้อจ� ำกัดต่าง ๆของการค้าบริการโดยเฉพาะ ในสาขาเร่งรัดที่ส� ำคัญ (priority sectors) กล่าวคือ สาขาสุขภาพ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการขนส่งทางอากาศ ภายใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ส่วนสาขาโลจิสติกส์ก� ำหนดไว้ ๙ ดูรายละเอียดใน “แผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)” หัวข้อ A 2 การเปิดเสรีการค้าบริการ (Free Flow of Service), ภาคผนวก ง.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=