สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

135 ประยูร ทรงศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ คณะ ๑ บทมี ๔ วรรค วรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๓ มี ๕ ค� ำ วรรคที่ ๒ และวรรคที่ ๔ มี ๖ ค� ำ สัมผัส ค� ำที่ ๕ วรรคที่ ๑ สัมผัสกับค� ำที่ ๓ วรรคที่ ๒ ค� ำที่ ๖ วรรคที่ ๒ สัมผัสกับค� ำที่ ๕ วรรคที่ ๓ ค� ำที่ ๖ วรรคที่ ๔ ของบทแรกสัมผัสกับค� ำที่ ๖ วรรคที่ ๒ ของบทต่อไป เป็นสัมผัสระหว่างบท ผู้แต่งระบุไว้ในบทสุดท้ายแต่เพียงว่าชื่อบัณฑิตไมเป็นผู้คิดผูกข้อความสั่งสอนนี้ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสั่งสอนชายที่เป็นพ่อเรือนให้มีวัตรปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสม ส่วนที่มาของความคิดที่น� ำมาอบรม สั่งสอนในค� ำสอนชายส่วนใหญ่มาจากแนวประพฤติปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนค่านิยมซึ่ง บรรพบุรุษเขมรได้ประพฤติปฏิบัติและอบรมสั่งสอนสืบต่อกันมา รวมทั้งได้แนวคิดจากประสบการณ์ชีวิต ของผู้แต่งซึ่งได้จากการบวชเรียนในพระพุทธศาสนา ตลอดจนได้แนวคิดจากฉบับกรมหรือค� ำสอนสามเณร ซึ่งผู้แต่งได้น� ำมากล่าวไว้ในเนื้อหาตอนต้นด้วย สาระส� ำคัญของค� ำสอนชาย สาระส� ำคัญของค� ำสอนชาย เป็นการสั่งสอนชายที่เป็นพ่อเรือนให้ท� ำหน้าที่ของตนในฐานะผู้น� ำ ครอบครัวให้สมบูรณ์ สรุปสาระส� ำคัญได้ดังนี้ ๑. ให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ พูดจาสุภาพ ใช้ถ้อยค� ำที่เหมาะสม ไม่เย่อหยิ่งแข็งกระด้าง พูดจาโอ้อวดวางโต ผู้อื่นเขาจะติฉินนินทาดูถูกดูแคลนได้ว่าเป็นคนไม่มีสกุล ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย การท� ำตนเป็นคนดีนั้นยาก ดังตัวอย่าง (๖) เรียนบทเรียนบาทจาส กุํจฺรฬาสเลีเรียมจฺบง สฺรฎีนึงอฺนกผง พากฺยโอยควรกุํแองวุี ฯ เรียนตามแบบแผนเรียนครับจ้ะ อย่าวางท่าเหนือผู้ใหญ่ จะพูดกับคนทั้งปวง ถ้อยค� ำให้เหมาะสมอย่าเอ็งอย่าเว้ย (๗) อืเอีอญฎาจ่สาจ่ ฉฺคงพากฺยเพจน์เคสฺรฎี เฎีมเฎียลโอยอปฺริย สฺรฎีถากูนอต่พูช ฯ อย่าอือเออกูข้าเด็ดขาด ค� ำพูดไม่ดีเขาจะว่าเอา ติเตียนให้มัวหมอง ว่าเป็นลูกไม่มีตระกูล

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=