สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

133 ประยูร ทรงศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๑. วรรณกรรมฉบับสมัยโบราณ คือ วรรณกรรมฉบับที่แต่งในสมัยกรุงอุตดงค์เป็นราชธานี เช่น ฉบับกรม ฉบับเกียรติกาล ฉบับชาย ฉบับหญิง ฉบับดูก่อนมหาชน ฉบับราชเนติ ฉบับหญิงของสมเด็จ พระหริรักษ์รามาอิสราธิบดี (นักองด้วง) วรรณกรรมฉบับในสมัยนี้นิยมแต่งด้วย บทกากคติ บทภุชงคลีลา และบทพรหมคีติ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกาพย์ ๒. วรรณกรรมฉบับสมัยใหม่ คือ วรรณกรรมฉบับที่แต่งตั้งแต่กรุงพนมเปญเป็นราชธานีต่อจาก กรุงอุตดงค์เป็นต้นมา เช่น ฉบับลเบิกใหม่ ฉบับเกียรติกาลใหม่ ฉบับร� ำลึกตักเตือน ฉบับค� ำฝากกรมงย ฉบับค� ำกลอนสอนชายหญิง ฉบับสุภาษิตสอนหญิงของออกญาสุตตันตปรีชา (อินท์) วรรณกรรมฉบับใน สมัยนี้นิยมแต่งด้วยบทพากย์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกลอนของไทยและมีค� ำประพันธ์แบบสมัยโบราณใช้อยู่บ้าง ที่มาของความคิดในวรรณกรรมฉบับ บรรดาค� ำสอนที่นักปราชญ์เขมรได้ประณีตบรรจงถ่ายทอดไว้ในฉบับพบว่า แหล่งที่มาของความ คิดที่น� ำมาสั่งสอนมาจาก ๓ แหล่งด้วยกัน (พุทธฺสาสนบณฺฑิตฺย ๒๕๔๕ : ค-ฆ) ดังนี้ ๑. แนวคิดจากปรัชญาค� ำสอนในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่ ผู้แต่งมักเป็นผู้ได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาพระธรรมค� ำสอนของพระพุทธองค์อย่างลึกซึ้ง ซึ่ง ชาวเขมรถือว่าเป็นวิชาความรู้ชั้นสูงในการศึกษาของเขมรมาแต่โบราณ ๒. แนวคิดจากความคิด ค� ำพูด ค� ำสั่งสอน และแนวปฏิบัติตนของคนเฒ่าคนแก่อันเป็น ที่เคารพนับถือของคนในสังคมซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามมาตั้งแต่สมัยโบราณ และ ผู้คนจดจ� ำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา น� ำมาเป็นเนื้อหาสาระของค� ำสอน ๓. แนวคิดจากประสบการณ์ซึ่งผู้แต่งได้พบเห็นในการด� ำเนินชีวิตประจ� ำวันของตน ประสบการณ์ เหล่านั้นอาจจะผิดบ้างถูกบ้าง แล้วน� ำประสบการณ์ทั้งถูกและผิดเหล่านั้นมาเป็นบทเรียน สั่งสอนลูกหลาน ต่อ ๆ กันมา จากแหล่งที่มาของความคิดที่น� ำมาสั่งสอนทั้ง ๓ แหล่ง เนื้อหาสาระที่สั่งสอนบางบทบางตอน อาจมีส่วนที่พ้นสมัยนิยมส� ำหรับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันไปบ้าง แต่ความคิดดังกล่าวยังมีความ ถูกต้องตามหลักการอบรมสั่งสอนและหลักศีลธรรมอันดีงามของเขมร ฉบับต่าง ๆ บรรดาฉบับต่าง ๆ ที่มีกระจัดกระจายอยู่ตามวัดวาอารามและสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศนั้นพุทธ- สาสนบัณฑิตย์ซึ่งเป็นสถาบันหลักในการศึกษาค้นคว้าด้านวรรณกรรมของประเทศกัมพูชาได้รวบรวมและ คัดลอกเนื้อหาจากที่เขียนบันทึกไว้ในใบลาน โดยปรับอักขรวิธีเป็นปัจจุบันเพื่อให้อ่านง่าย น� ำวรรณกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=