สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วรรณกรรมฉบั บ : ค� ำสอนชาย 132 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ฉบับเป็นวรรณกรรมที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวเขมรทุกชนชั้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะฉบับได้น� ำมา ใช้ในการศึกษาเล่าเรียนของชาวเขมรสมัยก่อน ตั้งแต่คนธรรมดา โอรสกษัตริย์จนถึงกษัตริย์ โดยพระสงฆ์ ผู้เป็นครูสอนให้ศิษย์ท่องจ� ำข้อความบทร้อยกรองในฉบับ ซึ่งถือเป็นแบบเรียนและบทเรียนส� ำหรับเด็ก ก่อนที่จะฝึกอ่านเรื่องต่าง ๆ ต่อไป แม้ว่าการศึกษาสมัยปัจจุบันไม่ได้ก� ำหนดให้นักเรียนที่เพิ่งเริ่มศึกษา เล่าเรียนได้เรียนฉบับอย่างเช่นสมัยก่อน แต่ฉบับก็เป็นวิชาด้านภาษาที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องศึกษาจ� ำนวน ๔ เรื่อง คือ ฉบับกรม ฉบับเกียรติกาล ฉบับชาย และฉบับหญิง แหล่งก� ำเนิดวรรณกรรมฉบับ เขมรนับถือศาสนาพุทธมาแต่โบราณ วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา เป็นโรงเรียนให้กุลบุตร ได้ศึกษาเล่าเรียนด้านอักษรศาสตร์ การคิดค� ำนวณ การศาสนา กิริยามารยาท เพื่ออบรมบ่มนิสัยให้เป็น ผู้รู้ทั้งทางโลกและทางธรรม อันเป็นการเตรียมตนเพื่อก้าวไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีความ เจริญรุ่งเรืองในชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับการบวชเรียนของกุลบุตรชาวเขมรกล่าวไว้ว่า เมื่อเด็กชายอายุประมาณ ๘ ปี พ่อแม่จะน� ำไปฝากให้พักอาศัยอยู่กับพระที่วัดเพื่อปรนนิบัติรับใช้พระสงฆ์ และพระสงฆ์จะสอนเขียน อ่านตัวอักษรเขมร ท่องบทสวดมนต์และสวดมนต์ทุกเช้าค�่ ำ เมื่ออ่านเขียนได้แล้วก็จะสอนต� ำราที่เรียกว่า ฉบับต่าง ๆ เช่น ฉบับกรม ฉบับเกียรติกาล สอนคติโลก หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สุภาษิตต่าง ๆ เพื่อให้รู้แนวทางการประพฤติตนที่ดีงาม มีความนึกคิดเป็นหลักทางใจ เพื่อเป็นประสบการณ์ของชีวิต เมื่อถึงเวลาออกไปครองเรือน เมื่ออายุได้ ๑๒-๑๕ ปี บิดามารดาจะจัดให้บรรพชาเป็นสามเณรเพื่อทดแทน พระคุณมารดา ไม่ว่าจะเป็นโอรสของกษัตริย์ ลูกขุนนาง ข้าราชการ หรือลูกชาวบ้านก็ต้องบวชเรียนตาม ประเพณี เมื่ออายุได้ ๒๐-๒๑ ปีจะต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่อทดแทนพระคุณบิดา กลางวันเรียนอักษร ศาสตร์ กลางคืนเรียนพระธรรมและการภาวนา ดังนั้นจึงถือว่าวัดคือแหล่งก� ำเนิดและเผยแพร่วรรณกรรม ฉบับของเขมร (ฆีง หุกฑี. ๒๐๐๒ : ๑๗-๒๐) ช่วงเวลาในการแต่งวรรณกรรมฉบับ วรรณกรรมฉบับส่วนใหญ่ไม่ระบุเวลาที่แต่งไว้ชัดเจนว่าแต่งขึ้นเมื่อใด แต่จากการศึกษาหลัก ความคิด ถ้อยค� ำและส� ำนวนภาษา ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปรากฏในเรื่อง ท� ำให้สันนิษฐาน ได้ว่า วรรณกรรมฉบับน่าจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงอุตดงค์เป็นราชธานี ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๖๒-๒๔๐๓ และ ช่วงระยะเวลาต่อมาคือในสมัยกรุงพนมเปญเป็นราชธานีช่วงหลัง มีวรรณกรรมฉบับเกิดขึ้นอีกหลายเรื่อง วรรณกรรมฉบับแบ่งออกเป็น ๒ สมัย ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=