สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ วรรณกรรมฉบับ : ค� ำสอนชาย * ประยูร ทรงศิลป์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * ปรับปรุงจากการบรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ บทน� ำ ฉบับ ตรงกับค� ำภาษาเขมรว่า จฺบาบ่ อ่านว่า ชบับ พจนานุกรมฉบับพุทธสาสนบัณฑิตย์ (๑๙๖๗ : ๒๓๙) ให้ความหมายว่า จฺบาบ่ คือ “ข้อบัญญัติส� ำหรับให้ผู้คนที่อยู่ในบ้านเมืองปฏิบัติตาม วินัย ระเบียบแบบแผน กฎหมาย วิธีการอบรมสั่งสอนให้คนประพฤติดีงาม แบบอย่าง ตัวอย่าง แบบฉบับ ลักษณะดั้งเดิม” วรรณกรรมฉบับ คือ วรรณกรรมค� ำสอนของเขมรที่นักปราชญ์เขมรโบราณได้เรียบเรียงไว้ส� ำหรับ อบรมสั่งสอนคนทั้งกาย วาจา และใจ ให้ประพฤติดีงามตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ชักน� ำให้มี สติปัญญาเฉลียวฉลาด ฝึกหัดตนให้ประพฤติดีเพื่อที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยบรรดาค� ำสอนมุ่ง หวังให้เป็นหลักในการปฏิบัติตนต่อศาสนา หลักปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ หลักปฏิบัติต่อบ้านเมืองและหลักใน การด� ำรงชีวิต การอบรมสั่งสอนของคนเขมรโบราณมีกลวิธีในการอบรมสั่งสอนผ่านทางอักษรศาสตร์ ด้วย การผูกเป็นร้อยกรองที่ไพเราะ มีสัมผัสคล้องจองกัน ใช้ภาษาง่าย ๆ ตรงไปตรงมา แต่มีการคัดสรรถ้อยค� ำ เป็นอย่างดีเอาไว้ให้ท่องจ� ำจนคล่อง แล้วเอาความหมายของข้อความที่ท่องได้จนขึ้นใจไว้สั่งสอนตนเอง บทคัดย่อ ฉบับ คือ ค� ำสอนของเขมรที่นักปราชญ์เขมรโบราณแต่งตั้งเพื่อใช้อบรมสั่งสอนคน โดยน� ำแนวคิดในการสอนมาจากค� ำสอนในพระพุทธศาสนา แนวปฏิบัติตนของผู้เฒ่าผู้แก่ และ จากประสบการณ์ของ ผู้แต่ง ฉบับปรากฏครั้งแรกสมัยกรุงอุตดงค์เป็นราชธานี ค� ำสอนชายแต่งขึ้นเพื่อสอนชายที่เป็นพ่อเรือนให้มีวัตรปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม มีสาระส� ำคัญคือ ให้สุภาพและอ่อนน้อม ขยันและเอาใจใส่ท� ำมาหากิน ประหยัดและดูแลทรัพย์ สมบัติ ประพฤติตามทางสายกลาง งดเว้นจากอบายมุข ซึ่งจะน� ำความวิบัติมาสู่ครอบครัวที่เรียกว่าบ้า ๓ ประการ คือ บ้าผู้หญิง บ้าสุรา และบ้าการพนัน ค� ำส� ำคัญ : ฉบับ, ค� ำสอนชาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=