สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
5 จตุรนต์ ถิ ระวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ด้านต่าง ๆ ตามที่ก� ำหนดไว้ใน AFAS และความตกลงอาเซียนว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (ASEAN Agreement on the Movement of Natural Persons) กล่าวคือ ประการแรก ผู้เข้ามาติดต่อธุรกิจ (Business Visitors: BV) สามารถเข้ามาเพื่อเข้าร่วม การประชุม ติดต่อท� ำสัญญาซื้อขายบริการ เยี่ยมชมสถานประกอบกิจการ หรือด� ำเนินกิจกรรมในลักษณะ ดังกล่าวเพื่อที่จะจัดตั้งธุรกิจ โดยได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองและอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ได้ไม่เกิน ๙๐ วัน แต่อาจขอขยายได้รวมแล้วไม่เกิน ๑ ปี สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับข้อผูกพัน ภายใต้กรอบของ GATS ซึ่งไทยอนุญาตให้เข้ามาท� ำกิจกรรมได้เพียงการร่วมประชุมธุรกิจ การท� ำสัญญา ซื้อขายบริการ และการเยี่ยมชมธุรกิจที่มีการจัดตั้งแล้ว ประการที่ ๒ ผู้โอนย้ายภายในบรรษัทข้ามชาติหรือบริษัทในเครือ (Intra-Corporate Transferee: ICT) ซึ่งบุคคลประเภท ICT นี้จะต้องเป็นบุคลากรระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งต้องได้รับการว่าจ้างจากบรรษัทนอกราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า ๑ ปี จนถึงวันขออนุญาต และต้องผ่านการตรวจสอบความจ� ำเป็นในการจ้าง (management needs test) ตามที่กรมการจัดหางาน ก� ำหนดไว้ โดยบุคคลประเภทดังกล่าวนี้จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน ๑ ปี โดยอาจขยาย ได้ ๓ ครั้ง แต่ละครั้งไม่เกิน ๑ ปี ซึ่งเพิ่มเติมจากในกรอบของ GATS ซึ่งไทยอนุญาตให้ขยายเวลาได้ไม่เกิน ๒ ครั้งเท่านั้น ๘ การด� ำเนินการที่ผ่านมายังมีขอบเขตที่ค่อนข้างจ� ำกัด โดยอนุญาตให้เฉพาะกับบุคคล ธรรมดาบางประเภทส� ำหรับบางสาขาบริการที่มีการเปิดตลาดเท่านั้น อีกทั้งยังไม่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เท่าที่ควร ดังนั้น จึงจ� ำเป็นต้องมีมาตรการเสริมเพื่อเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพของการเปิดเสรีภาคบริการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพอย่างเสรีด้วยเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายของการเป็นประชาคมอาเซียน โดยอาศัยการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นปัจจัยหลัก ประการหนึ่งดังจะได้ศึกษาต่อไป ๑.๒ การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและผลที่ตามมา การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพในสาขาที่ตกลงกัน เป็นส่วนหนึ่ง ของเป้าหมายของสมาคมอาเซียนในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีพัฒนาการ ต่อเนื่องซึ่งจะได้ศึกษาก่อนที่จะวิเคราะห์ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมาตามล� ำดับดังต่อไปนี้ ๘ สถาพร ใสเรียน, “ผลกระทบต่อบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลธรรมดา ผู้ให้บริการวิชาชีพภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. ๒๕๕๕, น. ๓๓.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=