สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พิ มายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ จากหลั กฐานด้านจารึ ก 124 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ขอนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ผู้มีกายสาม คือ นิรมาณกาย ธรรมกาย และสัมโภคกาย ผู้อยู่ เลยภาวะทั้งสองคือความมี (ภาว) และความไม่มี (อภาว) ผู้มีความเป็นหนึ่งเดียวเป็นแก่น (อทฺวยาตฺมา) ผู้ปราศจากอาตมัน ข้าฯ ขอไหว้พระไภษัชยคุรุ ผู้มีรัศมีเหมือนแก้วไพทูรย์ ผู้เป็นผู้ชนะดังพระราชา ผู้ทรงท� ำให้โรค ภัยไข้เจ็บหายไปจากผู้ที่เพียงได้ยินพระนามของพระองค์ ขอให้พระศรีสูรยไวโรจนะผู้มีแสงแก่กล้า และ พระศรีจันทรไวโรจนะผู้เป็นพระสวามีของนาง โรหิณี ผู้ขจัดความมืดคือความเจ็บป่วยของประชาชน จงมีชัยชนะที่เชิงเขาพระสุเมรุคือพระจอมมุนี ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย มีพระพุทธไภษัชยคุรุท� ำด้วยหินทรายตั้งแสดงไว้ องค์หนึ่ง (รูปที่ ๑๑) พระหัตถ์ทั้งสองถือหม้อยาไว้ที่หน้าตัก ส่วนอีกองค์หนึ่งอยู่ในท่านั่งขัดสมาธิมีหม้อยาวางอยู่ เหนือพระหัตถ์ทั้งสองซึ่งวางซ้อนกัน แต่ยังไม่พบรูปของพระศรีสูรยไวโรจนะและพระศรีจันทรไวโรจนะ ในภาพจิตรกรรมแบบทิเบตจะเขียนรูปพระไภษัชยคุรุผิวกายสีด� ำ พระหัตถ์ขวาท� ำวรทมุทรา (ประทานพร) พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรเหล็กวางอยู่ที่ตัก มีภิกษุ ๒ รูปอยู่ ๒ ข้าง ซึ่งอาจจะเป็นตัวแทนพระศรีสูรยไวโรจนะ และพระศรีจันทรไวโรจนะ สรุป จากหลักฐานด้านจารึกที่มีทั้งภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร และรูปเคารพแบบพระพุทธศาสนา มหายานซึ่งพบที่พิมายและบริเวณใกล้เคียง แสดงว่าในรัชกาลของพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ และพระเจ้า ชยวีรวรรมัน การนับถือศาสนาพุทธมหายานนิกายวัชรยานมีความโดดเด่น แต่ศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย ก็ได้รับการยอมรับนับถือไปพร้อม ๆ กัน พระเจ้าสูรยวรรมันแม้จะทรงนับถือลัทธิเทวราชอย่างเคร่งครัด แต่ก็ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี จนเมื่อพระองค์สวรรคต จึงได้รับพระนามว่า “นิรวาณปทะ”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=