สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

123 จิ รพั ฒน์ ประพั นธ์วิ ทยา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ทรงเหยียบถันทั้งสองของพระเคารีด้วยพระบาทขวา ทรงเครื่องประดับหลากสี มีพวงมาลัยท� ำด้วยพระ พุทธรูปเป็นต้น (Bhattacharya 1968, Vol. II: 511; Getty: 100-1) พระวัชรสัตว์หรือวัชรธร เมื่อต้องการ จะปกป้องคุ้มครองโลกทั้งสาม คือ มนุษย์ สวรรค์ และ บาดาล จะปรากฏรูป (manifest) เป็น พระไตร โลกยวิชยะ (Getty: 101) ลักษณะของพระวัชรธรหรือวัชรสัตว์ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วัชรฑากตันตระจะ ตรงกับลักษณะของพระไตรโลกยวิชยะมากกว่า Snell Grove (2001: 78) มีความเห็นว่า ไตรโลกยวิชยะ คือ รูปเทพที่ทับหลังตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของระเบียงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท หินพิมาย (รูปที่ ๙-๑๐) ไตรโลกยวิชยะเป็นชื่อของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ มีหนังเสือหรือหนังช้างคลุมพระวรกาย และทรงเหยียบอยู่เหนือมนุษย์ (Bunce: 552-3) วีเรนทราธิปติวรรมันที่กล่าวในจารึกมีชื่อจารึกไว้ในขบวนสวนสนามที่ภาพสลักนูนต�่ ำบนผนัง ระเบียงของปราสาทนครวัด (Cœdès 1964: 126) คงจะเป็นคนส� ำคัญในราชส� ำนักของพระเจ้า สูรยวรรมันที่ ๒ จารึกอาโรคยศาลา (ด่านประค� ำ) พระเจ้าชยวรรมัน (Jayavarman) ที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔-ประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๑) ทรงสร้าง อาโรคยศาลาหรือโรงพยาบาลจ� ำนวน ๑๐๒ แห่งทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ (Cœdès 1968: 176) อาโรคยศาลาจ� ำนวนหนึ่งพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พระองค์ได้สร้างจารึกเป็นภาษา สันสกฤตไว้ที่อาโรคยศาลา มีข้อความเกือบจะเหมือนกันทุกหลัก ที่พิมายก็มีอาโรคยศาลาเช่นเดียวกัน มีชื่อเรียกว่า กุฏิฤๅษี อยู่ทางด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย พบจารึกอาโรคยศาลาที่นี่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่ช� ำรุดมากจึงขอยกข้อความในจารึกด่านประค� ำโศลกที่ ๑-๓ มาแทน นโม วุทฺธาย นิรฺมฺมาณ- ธรฺมฺมสามฺโภคมูรฺตฺตเย ภาวาภาวาทฺวยาตีโต ทฺวยาตฺมา โย นิราตฺมกะ ไภษชฺยคุรุไวทูรฺยฺย ปฺรภราชชินนฺ นเม เกฺษมาโรคฺยาณิ ชนฺยนฺเต เยน นามาปิ ศฺฤณฺวตามฺ ศฺรีสูรฺยฺยไวโรจนจนฺทโรจิะ ศฺรีจนฺทฺรไวโรจนโรหิณีศะ รุชานฺธการาปหเรา ปฺรชาน� ำ มุนีนฺทฺรเมโรรฺ ชยตามุปานฺเต (จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ : ๑๙๒)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=