สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พิ มายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ จากหลั กฐานด้านจารึ ก 122 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 จารึกฐานรูปเคารพที่ปราสาทหินพิมาย (K.954) จารึกนี้พบที่ฐานรูปเคารพที่ระเบียงรอบปราสาทหินพิมายด้านทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตก กล่าวถึง ศรีวีเรนทราธิปติวรรมันแห่งเมืองโฉกวกุล ได้ประดิษฐานกัมรเตงชคัตเสนาปติ (Cœdès 1964: 126-7) จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ เรียกจารึกนี้ว่า จารึกปราสาทหินพิมาย ๔ (หน้า ๖๑) กัมรเตงชคัตเสนาปติ ที่กล่าวในจารึกคงจะหมายถึง กัมรเตงชคัตเสนาปติไตรโลกยวิชยะ โดยเทียบกับจารึกพิมาย ๓ ไม่มี หลักฐานว่ามีการพบรูปเคารพที่อยู่บนฐานแห่งนี้ เราจึงไม่ทราบรูปลักษณ์ของประติมากรรม ค� ำว่า เสนาปติไตรโลกยวิชยะ บ่งบอกว่า พระไตรโลกยวิชยะองค์นี้มีหน้าที่คุ้มครองป้องกัน พระพุทธรูปพระนามว่า วิมาย ซึ่งเป็นประธานที่พุทธสถานพิมาย เป็นคติทางพระพุทธศาสนาวัชรยาน แบบในทิเบต วัดทุกแห่งในละดัข รัฐชัมมูและกัศมีร์ของอินเดีย ซึ่งเป็นวัดพระพุทธศาสนาวัชรยานจะเขียน ภาพเทพผู้คุ้มครองป้องกัน เช่น มหากาล ไว้เหนือประตูอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานของวัด (รูปที่ ๔-๕) คัมภีร์วัชรฑากตันตระ กล่าวถึงลักษณะของพระวัชรสัตว์ไว้ดังนี้ คือ แย้มพระโอษฐ์ ผิวพรรณ เหมือนพระจันทร์ รัศมีแดง มีเครื่องประดับคือพวงมาลัยพุทธรูป มีเครื่องประดับครบทุกอย่าง มี ๔ พักตร์ ๔ กร (มี ๓ เนตร) สวมมงกุฎชนิดชฏามุกุฏ ประดับด้วยวิทยาทั้ง ๔ มีรูปของพระพุทธเจ้าประดับ พระพักตร์ด้านขวาสีคล�้ ำแต่มีความสุข พระพักตร์ด้านซ้ายสีแดง พระพักตร์ด้านหลังสีเหลือง ทรงเต้นร� ำ ตาณฑวะอยู่เหนือกะโหลกมนุษย์ น่าสะพรึงกลัวส� ำหรับเหล่าเทพ ทรงถือ วัชระ พระขรรค์ กระดิ่ง และ กะโหลกมนุษย์ แวดล้อมด้วยฑากินี (Bhattacharya 1974: 18) ไตรโลกยวิชยะ แปลว่า ผู้มีชัยเหนือโลกทั้งสาม คงจะเป็นภาพสลักกลางทับหลังเหนือประตู เข้าไปสู่ครรภคฤหะ (ห้องส� ำหรับประดิษฐานรูปเคารพประธาน) จากทางทิศตะวันออก (รูปที่ ๖-๗) เป็น รูปในท่าร่ายร� ำ เหยียบบุคคล ๒ คนซึ่งนอนหงาย ในพระหัตถ์ถือวัชระ ด้านหลังของพระองค์เป็นหนังช้าง ทั้งตัว บุคคลที่ถูกเหยียบอาจจะหมายถึงพระศิวะและพระเคารี แต่พระไตรโลกยวิชยะที่พิมายมีท่าประทับ ยืนซึ่งเรียกว่า อรฺธปรฺยงฺก (ardharparyaṅka) ต่างไปจากท่ายืนของพระไตรโลกยวิชยะที่อื่นซึ่งเรียกว่า ปรัตยาลีฒะ (pratyālīḍha) คือประทับยืนย่อเข่าขวา (รูปที่ ๘) คัมภีร์สาธนมาลากล่าวถึงลักษณะของพระไตรโลกยวิชยะไว้ดังนี้ คือ พระไตรโลกยวิชยะ เกิดจากอักษร หุํ (หุํการ) สีน�้ ำเงิน มีผิวพรรณสีน�้ ำเงิน มี ๔ พักตร์ พระพักตร์ด้านหน้ามีสีหน้าแสดงความ รู้สึกรักและโกรธ พระพักตร์ด้านขวาสีหน้าแสดงความรู้สึกโกรธจัด พระพักตร์ด้านซ้ายสีหน้าแสดงความ รู้สึกรังเกียจ พระพักตร์ด้านหลังสีหน้าแสดงความรู้สึกเก่งกล้า มี ๘ กร ท� ำวัชรหุงการด้วยพระหัตถ์ถือ กระดิ่งและวัชระแนบที่พระอุระ พระหัตถ์ด้านขวาถือขัฏวางคะ ขอช้าง และลูกศร พระหัตถ์ด้านซ้าย ถือคันธนู บ่วง และวัชระ ประทับยืนในท่านปรัตยาลีฒะ ทรงเหยียบเศียรพระศิวะด้วยพระบาทซ้าย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=