สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

121 จิ รพั ฒน์ ประพั นธ์วิ ทยา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ (Cœdès 1986: 96; Snellgrove: 272). เราเห็นเค้าลางอิทธิพลของพุทธวัชรยานเช่นเดียวกันในจารึก ภาษาสันสกฤตวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งจารึกขึ้นใน พ.ศ. ๑๓๑๘ (กรมศิลปากร ๒๕๒๙, เล่ม ๑ : ๑๙๔-๕) พระพุทธรูป ๔ กายที่กล่าวถึงในจารึก อาจจะเป็นภาพสลักพระพุทธรูปหลายองค์ที่อยู่เหนือ ทับหลังด้านทิศเหนือของครรภคฤหะของพุทธสถานพิมาย มี ๔ พักตร์ ๖ กร ๒ กรวางซ้อนกันอยู่ หน้าตักในท่าสมาธิ สิ่งที่ถืออยู่ในพระหัตถ์ข้างหนึ่งมีลักษณะคล้ายฆัณฏาคือกระดิ่ง (รูปที่ ๓) พระพุทธรูป ดังกล่าวอาจจะเป็น พระวัชรธร (Vajradhara) ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นองค์เดียวกับพระวัชรสัตว์ (Vajrasattva) พระวัชรธร คือ พระพุทธเจ้าที่มีอยู่ตลอดกาล คือเป็น อาทิพุทธ ไม่มีเบื้องต้นและที่สุด เป็นผู้ชนะมารทั้งหลาย และพวกมารนั้นได้สาบานต่อพระองค์ว่าจะไม่ขัดขวางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของพระองค์ตลอดไป (Getty 1914: 3-6) จากจารึกหลักนี้ชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ แม้จะทรงนับถือลัทธิเทวราช แต่พระองค์ ก็ทรงให้ความอุปถัมภ์ศาสนาพุทธเป็นพิเศษ จารึกพระขรรค์ซึ่งจารึกขึ้นในรัชกาลของพระองค์ก็เริ่มต้นด้วย การนมัสการพระศิวะในโศลกที่ ๑ ต่อด้วยการนมัสการพระพุทธเจ้าในโศลกที่ ๒ (Majumdar: 359-61) เพราะเหตุที่พระองค์ให้ความอุปถัมภ์ศาสนาพุทธเป็นพิเศษนี่เองหลังจากที่พระองค์สวรรคต พระองค์จึงได้ รับพระนามว่า “นิรฺวาณปท (nirvāṇapada = ที่ตั้งอยู่ของนิรวาณ ) ” (Cœdès 1968: 135) จารึกปราสาทหินพิมาย ๓ พ.ศ. ๑๖๕๑-๑๖๕๔ เป็นจารึกภาษาเขมร จารึกบนกรอบประตูของซุ้มประตู (Gopura) ที่ระเบียงด้านทิศใต้ของ ปราสาทหินพิมาย กล่าวถึงการประดิษฐาน กัมรเตงชคัต เสนาปติไตรโลกยวิชยะ ใน พ.ศ. ๑๖๕๑ โดย กัมรเตงอัญ ศรีวีเรนทราธิปติวรรมัน (Śrīvīrendrādhipativarman) แห่งเมือง โฉกวกุล ให้เป็นเสนาปติ คือ แม่ทัพของ กัมรเตงชคัตวิมาย พระพุทธรูปประธานของพุทธสถานพิมาย พร้อมกับได้ถวายทาส (ข้าพระ) และที่ดินโดยมีการก� ำหนดขอบเขตของที่ดินอย่างชัดเจน และผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดิน (กัลปนา) จะต้อง น� ำไปใช้เพื่อการบูชาและอุปถัมภ์บ� ำรุง กัมรเตงชคัตวิมาย และ เสนาปติไตรโลกยวิชยะ ใน พ.ศ. ๑๖๕๒ จารึกกล่าวถึงการท� ำบุญครบรอบปีและกล่าวถึงการถวายข้าพระจ� ำนวน ๒๖ คน และกล่าวถึง วีเรนทราศรม ซึ่งคงจะเป็นวัดทางพระพุทธศาสนาที่ปราสาทหินพิมาย ใน พ.ศ. ๑๖๕๔ กล่าวถึงการถวายข้าพระแด่กัมรเตงอัญไตรโลกยวิชยะ และให้วีเรนทราศรม ดูแลมูลนิธิ (กัลปนา) และกล่าวถึงการอุทิศส่วนกุศลแด่พระเจ้าธรณีนทรวรรมเทวะ (Dharaṇīndravarmadeva) พ.ศ. ๑๖๕๕ ตวนเตงประสาน...บุตรของกัมรเตงอัญ ศรีวีเรนทราธิปติวรรมัน ถวาย ไตกโญน แด่ กัมรเตงชคัตวิมาย (จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔, ๒๕๒๙ : ๓๖-๔๐)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=