สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ข้อพิ จารณาทางกฎหมายส� ำหรั บการเคลื่ อนย้ายอย่างเสรี ของบุคคลผู้ให้บริ การวิ ชาชี พในประชาคมเศรษฐกิ จอาเซี ยนมายั งประเทศไทย 4 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 Agreement on Services-AFAS ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการเร่งรัดการเปิดเสรีการค้าบริการในสมาคมอาเซียน โดยการก� ำหนดพันธกรณีให้รัฐภาคีในความตกลงต้องร่วมกันเจรจา เพื่อจัดท� ำข้อผูกพันในการเปิดเสรี การค้าบริการในประเทศสมาชิกให้ครอบคลุมและกว้างขวางกว่าที่ได้ให้ไว้ในความตกลงพหุภาคีใน กรอบงานขององค์การการค้าโลก ๔ แต่ก็ให้สิทธิรัฐสมาชิกในการออกระเบียบภายในเพื่อก� ำกับดูแลคุณภาพ ของธุรกิจในแต่ละสาขาบริการ โดยการด� ำเนินการให้ใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของ GATS เป็นพื้นฐานในการ เจรจา ซึ่งมีลักษณะของการเรียกร้องและยื่นข้อเสนอ (request and offer) โดยรัฐที่เรียกร้องให้รัฐอื่น เปิดตลาดในสาขาบริการใดสาขาบริการหนึ่ง ก็ต้องยอมเสนอที่จะเปิดตลาดการค้าบริการของตนในสาขา บริการที่ตนเห็นควรเป็นการแลกเปลี่ยน ๕ โดยรัฐสมาชิกได้ก� ำหนดสาขาบริการไว้ คือ การโทรคมนาคม การธนาคาร การท่องเที่ยว การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางทะเล การก่อสร้าง และการบริการธุรกิจ วิชาชีพ เนื่องจากเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูง ต่อมามีการอนุญาตให้การเจรจากระท� ำได้ระหว่างรัฐสมาชิก ตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป โดยไม่จ� ำเป็นต้องรอรัฐสมาชิกทั้งหมด แต่การเจรจาระดับทวิภาคีนี้กลับสร้างความล่าช้า ในทางปฏิบัติในการด� ำเนินการตามโครงการ เพราะต่างฝ่ายมักมีท่าทีปกป้องผลประโยชน์ของตนโดยมิได้ ค� ำนึงถึงเป้าหมายของส่วนรวม ๖ จนถึงปัจจุบันมีการเจรจาภายใต้กรอบของ AFAS รวม ๖ รอบ และรัฐสมาชิกได้จัด ท� ำตารางข้อผูกพันแล้วทั้งสิ้น ๘ ชุด ๗ ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องการเปิดเสรีการค้าบริการโดยทั่วไปแล้ว ก็มีส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลธรรมดาที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการด้วย โดยเฉพาะ ในสาขาบริการธุรกิจ ซึ่งจะท� ำให้ไทยได้รับสิทธิประโยชน์ คือ สามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจบริการในประเทศ สมาชิกอาเซียนได้ตามตารางข้อผูกพันในลักษณะที่ยืดหยุ่นและตามข้อบังคับที่ผ่อนปรนมากขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจเพื่อดึงดูดการลงทุนของรัฐสมาชิกอาเซียนในประเทศไทยด้วย ส� ำหรับทางปฏิบัติที่ผ่านมาในการเปิดเสรีสาขาวิชาชีพในกรอบของสมาคมอาเซียน ไทย ใช้แนวทางข้อผูกพันที่ให้ไว้ใน GATS เป็นพื้นฐาน โดยไทยยังไม่เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายผู้ให้บริการซึ่งเป็น บุคคลธรรมดาอย่างเสรี แต่เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการ ๔ ดาริกา โพธิรุกข์, “กลไกทางกฎหมายในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. ๒๕๕๓, น. ๒๕. ๕ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายภายในของประเทศอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและรับรองการเปิดเสรีทางการค้าและเศรษฐกิจของอาเซียน : ภาคการค้าบริการและภาคการลงทุน เล่ม ๑, รายงานฉบับสมบูรณ์เสนอหน่วยประจ� ำชาติไทยในองค์การรัฐสภาอาเซียน, กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓, น. ๔๔. ๖ ประนอมศรี โสมขันเงิน, “การเจรจาเปิดเสรีภาคบริการของอาเซียน”, วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ ๑๒, ฉบับที่ ๒, พฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒, น. ๒๕. ๗ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Fact Book)”, สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, น. ๑๒.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=