สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พิ มายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ จากหลั กฐานด้านจารึ ก 120 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ด้านที่ ๒ ของจารึก เริ่มต้นด้วยโศลก ภาษาสันสกฤต ๑ โศลก นโม พุทฺธาย สํสาร- สมมธฺยสฺถิตาย ยะ | อทฺวโยปิ จตุษฺกาย- ศฺ จตุรฺมฺมารภยาทิว || ขอนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ผู้ทรงด� ำรงอยู่ท่ามกลางโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดด้วยพระทัย นิ่งเป็นกลาง พระองค์แม้จะเป็นหนึ่งเดียวไม่มีสอง แต่ก็มีกาย ๔ กาย ราวกับว่าทรงกลัวมาร จากนั้นจารึกเป็นภาษาเขมร มีเนื้อหากล่าวว่า ศักราช ๙๕๓ ปีมะเส็ง วันศุกร์ มีการซื้อ ทาสชื่อ ไต กํวิต ซื้อ ทอง เสื้อผ้า ข้าวสาร น�้ ำมัน เป็นต้น เพื่อเป็นของถวายแด่ กัมรเตงชคัต................. (Cœdès 1964: 125-6) ค� ำว่า กัมรเตงชคัต อาจจะเป็นค� ำน� ำหน้า วิมาย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เป็นพระประธาน ที่พุทธสถานพิมาย โดยเทียบกับจารึกวัดจองกอข้างต้น จารึกนี้นับเป็นจารึกหลักเดียวในประเทศไทยที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าว่ามีกาย ๔ กาย คติเกี่ยวกับ พระพุทธเจ้า ๔ กายมีรายละเอียดกล่าวไว้ในคัมภีร์อภิสมยาลังการะ บทที่ ๘ (Conz, 1954: 96-104). คติเรื่องพระพุทธเจ้า ๔ กายมาแทนที่คติเรื่องพระพุทธเจ้า ๓ กายราวพุทธศตวรรษที่ ๙ (คริสต์ศตวรรษ ที่ ๔) กายทั้งสี่ของพระพุทธเจ้าได้แก่ ๑) สฺวภาวิกกาย ๒) ธรฺมกาย ๓) สมฺโภคกาย ๔) นิรฺมาณกาย (Snellgrove: 138) ความหมายของค� ำว่า อทฺวย ตามตัวอักษรแปลว่า ไม่ใช่สอง ทางด้านปรัชญาพุทธวัชรยาน หมายถึง เมื่อศุนยตา คือ ความว่างเปล่า (voidness) รวมเป็นหนึ่งเดียวกับ กรุณา (compassion) กลาย เป็น โพธิจิตตะ (Bodhicitta) จิตมุ่งมั่นเพื่อตรัสรู้ แนวคิดนี้ปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรกในคัมภีร์คุหยสมาช (Guhyasamāja) คัมภีร์สาธนมาลาอธิบายความหมายของ “อทฺวย” ให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นโดยการเปรียบเทียบ ว่า ทองแดงละทิ้งสีด� ำของตนเอง (กลายเป็นสีทอง) เมื่อพบกับน�้ ำยาขัดทองแดงฉันใด ร่างกายก็เช่นเดียวกัน จะทิ้งการยึดติด (ราค) และความเกลียดชัง (เทฺวษ) เป็นต้น เมื่อพบกับยาขัดคือ อทฺวย ฉันนั้น ในคัมภีร์ สาธนมาลาได้ท� ำให้อทฺวยกลายเป็นเทพ คือการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของเทพเหรุกกับเทวีปรัชญา ด้วยการ กอดรัดกันอย่างแนบแน่น ซึ่งเรียกว่า ยุคนทฺธ ในภาษาสันสกฤต และ ยับ-ยุม (yab-yum) ในภาษาทิเบต อันเป็นรูปเคารพแบบหนึ่งในพุทธวัชรยาน เหมือนการรวมเป็นหนึ่งเดียวของศุนยตากับกรุณา การรวม ตัวของศุนฺยตาและกรุณากลายเป็นอทฺวยนั้นเหมือนเกลือละลายในน�้ ำ (Bhattacharya, 1968: intro. lxxiii-lxxx) จากจารึกนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานว่ามีอยู่ที่พิมาย การแพร่กระจาย ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงจะเกิดขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๘) ตรงกับช่วงเวลาที่ราชวงศ์ปาละมีอ� ำนาจทางภาคตะวันออกของอินเดีย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=