สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
119 จิ รพั ฒน์ ประพั นธ์วิ ทยา วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ......................................รฺมฺ[ม]า ตโต วงฺ . ชยา .......................... ......................................................................... || ๓ (Ibid. 125) (๑) ขอน้อมไหว้ต่อพระศิวะ ผู้ซึ่งมีพระบาทที่เหมือนดอกบัวควรได้รับการน้อมไหว้ตลอดเวลา โดยพระพรหมาและเทพองค์อื่น ๆ พระองค์มีสวภาวะเพียงหนึ่งเดียว แต่ก็มีรูปเป็นทุกสิ่ง ทุกอย่าง แม้จะมีความมีอยู่หลายอย่าง แต่ก็เป็นภาวะที่ว่างเปล่า (๒) มีพระเจ้าแผ่นดินผู้รุ่งเรืองพระนามว่าสูรยวรรมัน (Sūryavarman) ผู้มีพระบาทที่พระเจ้า แผ่นดินทั้งหลายบูชาแล้ว.................ค� ำสอนทางศาสนาที่มากมาย ที่สมบูรณ์ ดูเหมือนกับว่า แผ่ไปทั่วทุกหนทุกแห่งอย่างกว้างขวาง ในโลกนี้...................พระองค์ แม้..........ก็ได้รับการ ไหว้พร้อมการสรรเสริญโดยพระพรหมาและพระวิษณุและเทพองค์อื่น..........พระองค์ มีความ กรุณา..........จึงได้กลายเป็นพระอีศวระ (พระเป็นเจ้าสูงสุด) (๓) ................................................................................................จากนั้น................รรมัน......... ชายา..................................................................................................................................... พระเจ้าสูรยวรรมันที่กล่าวถึงในจารึกนี้ คือ พระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ ซึ่งครองราชย์ที่เมืองพระนคร (Angkor) ระหว่าง พ.ศ. ๑๕๔๕-๑๕๙๓ (Cœdès 68: 134-7) และแสดงว่าพุทธสถานพิมายได้ถูกสร้างขึ้น ในสมัยพระองค์หรือก่อนหน้านั้น จารึกนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความกลมกลืนกัน (syncretism) ระหว่าง ปรัชญาพุทธศุนยวาทกับปรัชญาไศวนิกายที่นับถือพระศิวะว่าเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ตรงที่ชี้ว่า พระศิวะ มีความมีอยู่มากมาย (อเนกภาว) แต่ก็เป็นภาวะว่างเปล่า (ศุนฺยภาว) จารึกตวลปราสาท พ.ศ. ๑๕๔๖ (K.158-Tuol Prasat) ซึ่งจารึกขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชยวีรวรรมัน (Jayavīravarman) เริ่มต้นด้วยค� ำบูชา พระศิวะ ในโศลกที่ ๑ แต่ในโศลกที่ ๒ อธิบายลักษณะพระศิวะโดยใช้ลักษณะของพระพุทธเจ้า เป็นค� ำอธิบาย คือ พระศิวะมีกาย ๓ กาย ได้แก่ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย โศลกที่ ๓ กล่าวว่าพระเจ้าชยวีรวรรมันขึ้นครองราชย์ พ.ศ. ๑๕๔๕ (Cœdès 1942: 99) จารึกตวลปราสาทชี้ ให้เห็นว่าพระเจ้าชยวีรวรรมันร่วมสมัยกับพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ และใน พ.ศ. ๑๕๕๑ (จารึกวัดจองกอ) พิมายคงอยู่ใต้อ� ำนาจของพระเจ้าชยวีรวรรมัน ท่านนาคารชุน (Nāgārjuna) อาจารย์ฝ่ายพุทธปรัชญาศูนยวาทกล่าวไว้ในคัมภีร์มาธยมิก (Mādhyamika) ว่าสิ่งที่เราเห็น ๆ กันในโลกเป็นเพียงภาพปรากฏ ที่ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสายใยของการ เกี่ยวข้องสัมพันธ์ที่ไม่อาจอธิบายได้ (Bhattacharya 1987: 220)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=