สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พิ มายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ จากหลั กฐานด้านจารึ ก 118 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 จารึกวัดจองกอ (พ.ศ. ๑๕๕๑) จารึกนี้ (รูปที่ ๑-๒) เป็นภาษาเขมร ปัจจุบันอยู่ที่วัดจองกอ บ้านน้อย ต� ำบลบ้านเก่า อ� ำเภอ ด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นจารึกที่ให้ พ.ศ. ล่าสุดของการครองราชย์ของพระเจ้าชยวีรวรรมัน (Jayavīravarman) ซึ่งขึ้นครองราชย์ที่เมืองพระนคร (Angkor) ใน พ.ศ. ๑๕๔๕ (Cœdès 1968: 134) จารึกกล่าวถึงการการถวายที่ดินให้แก่พระกัมรเตงชคัตวิมาย โดยพระเจ้าชยวีรวรรมัน ค� ำว่า กัมรเตงชคัต (Kamrateṅ Jagat) แปลว่า เจ้าแห่งโลก เป็นค� ำหน้านามในภาษาเขมรแสดงความเคารพสูงสุดใช้กับเทพ ของอินเดีย (Pou 1992: 88) ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า โลกนาถ ค� ำว่า วิมาย อาจแปลว่า “สิ้นมายา” มาจาก วิคต + มายา = วิมาย แปลว่า ผู้มีมายาหมดสิ้นแล้วหรือสิ้นมายา เทียบได้กับค� ำว่า วิมล มาจาก วิคต + มล = วิมล แปลว่า ไม่มีมลทิน มายาเป็นค� ำสอนหลักของพระพุทธศาสนามหายาน นิกายวิชญานวาท (Vijñāvāda) หรือ โยคาจาร (Yogācāra) จารึกนี้เป็นจารึกอีกหลักหนึ่งที่ท� ำให้เราทราบว่าในรัชกาลของพระเจ้าชยวีรวรรมันมีพระ พุทธรูปองค์ประธานพระนามว่า วิมาย อยู่ที่พุทธสถานพิมาย นอกจากจารึกปราสาทหินพิมาย ๓ พ.ศ. ๑๖๕๑-๑๖๕๔ จารึกพิมาย พ.ศ. ๑๕๘๔ เป็นจารึกที่พบระหว่างการขุดแต่งและบูรณะบริเวณปรางค์ใหญ่ปราสาทหินพิมาย จารึกใน ประเทศไทย เล่ม ๓ กล่าวว่าจารึกนี้จารึกในมหาศักราช ๙๕๘ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๕๘๙ (จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ : ๑๗๖-๘๐) แต่เซแดส์กล่าวว่าจารึกหลักนี้จารึกในปีมะเส็งจึงต้องตรงกับมหาศักราช ๙๖๓ (พ.ศ. ๑๕๙๔) (Cœdès 1964: 124-7) ด้านที่ ๑ เป็นภาษาสันสกฤต มีข้อความว่า ตสฺไม ศิวายา [สฺตุ] นโม นมสฺย- ปาทามฺวุโช ชสฺรมชาทิภิรฺ ยฺยะ | เอกสฺวภาโว ขิลภาว[มูรฺติ]รฺ อเนกภาโว ปฺยปิ ศุนฺยภาวะ || ๑ [อา]สีตฺ ศฺรีสูรฺยฺยวรฺมฺมาหฺวยธรณิธโร ภูธไรรรฺจิตางฺฆฺรี ..าณิรขณฺฑาสฺ สุวิปุลวิภวา ภูริธรฺมฺมา อิเหว ............อปิ นุติสหิตวฺรหฺมวิษฺณฺวาทิวนฺทฺโย ..............ทโย ยสฺ สฺม ยาตีศฺวรตฺวมฺ || ๒

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=