สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ พิมายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ จากหลักฐานด้านจารึก จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ พิมายเป็นอ� ำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๖๒ กม. ที่นี่มีโบราณสถานทางพระพุทธศาสนา คือ ปราสาทหินพิมาย ค� ำว่า พิมาย คงจะมาจากพระนามของพระพุทธรูปประธานที่พุทธสถานพิมาย คือ กัมรเตงชคัตวิมาย ค� ำว่า วิมาย อาจจะแปลว่า ผู้มีมายาหมดสิ้นแล้ว จารึกวัดจองกอกล่าวถึงการถวายที่ดินแด่พระ พุทธรูปองค์นั้นโดยพระเจ้าชยวีรวรรมัน ใน พ.ศ. ๑๕๕๑ พระพุทธรูปประธานดังกล่าวเป็นที่เคารพบูชาที่ พิมายระหว่างรัชกาลของกษัตริย์แห่งกัมพูชา ๓ องค์ คือ พระเจ้าชยวีรวรรมัน (พ.ศ. ๑๕๔๕-๑๕๕๑?) พระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕-๑๕๙๓) และ พระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖-๑๗๑๐?) และอาจจะเป็นที่เคารพบูชาในสมัยต่อมาด้วย ศรีวีเรนทราธิปติวรรมัน บุคคลส� ำคัญในราชส� ำนักของพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๒ ได้ ประดิษฐานรูปเคารพพระนามว่า ไตรโลกวิชยะ เพื่อเป็นเสนาปติ (แม่ทัพ) ของพระกัมรเตงชคัตวิมาย ใน พ.ศ. ๑๖๕๑ พระพุทธศาสนาที่พิมายเป็นพระพุทธศาสนานิกายวัชรยาน บางครั้งการกลมกลืนกัน ระหว่างพระพุทธศาสนากับไศวนิกายก็มีอยู่เช่นเดียวกันที่พิมาย ศาสนาพุทธวัชรยานยังคงมีอยู่ต่อมา ที่พิมายจนถึงรัชกาลของพระเจ้าชยวรรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๓-ประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๑) ค� ำส� ำคัญ : วิมาย, พิมาย, ไตรโลกยวิชยะ, วัชรสัตว์, วัชรธร พิมายเป็นโบราณสถานทางพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่อ� ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจาก ตัวเมืองนครราชสีมาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ๖๒ กม. คนทั่วไปรู้จักโบราณสถานแห่งนี้ว่า ปราสาท หินพิมาย มีเนื้อที่ ๕๖๕ × ๑,๐๓๐ เมตร (เมืองพิมาย ๒๕๓๒ : ๒๐) ค� ำว่า พิมาย คงจะมาจากพระนามของ พระพุทธรูปประธานของปราสาทหินพิมาย พระนามว่า กัมรเตงชคัตวิมาย (kamrateṅ jagat vimāya) ซึ่งปรากฏในจารึกวัดจองกอและจารึกอื่นที่จะกล่าวต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=