สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ พัฒนาการของศิลปะวัฒนธรรม : เจดีย์ทรงปราสาทยอด * บทคัดย่อ พัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาทยอด รับปรับปรุงจากแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรม ขอม พม่า และล้านนา ได้ผ่านการผสมผสานอยู่ในศิลปะสุโขทัย และศิลปะอยุธยา โดยได้จางหายไป จากความนิยมในศิลปะรัตนโกสินทร์ ค� ำส� ำคัญ : เจดีย์ทรงปราสาทยอด สันติ เล็กสุขุม ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ศิลปกรรมเป็นปรากฏการณ์ในวัฒนธรรม ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นเดียวกับสังคมมนุษย์ที่มีปฏิสังสรรค์กัน เกิดการถ่ายเท ปรับเปลี่ยนทั้งในอดีต ปัจจุบัน โดยจะ ไม่จบสิ้น พัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าเปลี่ยนไปในทางที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจก็ตาม มีตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงด้านศิลปกรรมในอดีต ซึ่งสะท้อนถึงการถ่ายเททางศิลปะและวัฒนธรรม ในที่นี้ขอยกประเด็นรูปแบบของเจดีย์ทรงหนึ่งในวัฒนธรรมสุโขทัย วัฒนธรรมอยุธยา ที่เผยให้เห็นความ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับชาวเขมร กับชาวล้านนา ชาวพม่า เจดีย์ทรงดังกล่าว เรียกในวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ ว่า “เจดีย์ทรงปราสาทยอด” อธิบายลักษณะได้ดังนี้ ส่วนฐานในผังสี่เหลี่ยมด้านเท่า รองรับส่วนกลางซึ่งมีจระน� ำซุ้ม มักมีไว้เพื่อประดิษฐานพระพุทธ รูป ส่วนบนเป็นทรงกรวย เริ่มจากทรงระฆัง เหนือทรงระฆังอาจมีบัลลังก์สี่เหลี่ยมหรือไม่มีก็ตาม ต่อขึ้นไป เป็นทรงกรวยของ “ชุดปล้องไฉน” หรือบางทีก็อีกลักษณะหนึ่ง เรียกว่า “ชุดบัวทรงคลุ่ม” หรือ “บัวทรง คลุ่มเถา”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=