สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

3 จตุรนต์ ถิ ระวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ แผนการในเรื่องนี้ท� ำให้เกิดความกังวลขึ้นในสังคมไทยว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบหรือผลเสีย หรือไม่ และในขอบเขตมากน้อยเพียงใด ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของบทความคือ การน� ำเสนอภาพรวม ของโครงการดังกล่าวซึ่งย่อมส่งผลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเตรียมตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงในสังคมและในภูมิภาคต่อไป ทั้งนี้ ด้วยข้อจ� ำกัดของลักษณะบทความทางวิชาการ ขอบเขตของบทความ จึงเน้นเรื่องการ เคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามแผนของสมาคม อาเซียน ซึ่งไม่ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาทุกประเภทในประชาคมอาเซียน โดยมุ่งพิจารณา ในเชิงนิติศาสตร์ และค� ำนึงถึงมุมมองในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้รับการบริการ โดยเริ่มจากการอธิบาย พัฒนาการของการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของผู้ให้บริการวิชาชีพในอาเซียน ซึ่งเริ่มจากการเปิดเสรีการค้า บริการไปสู่การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในกรอบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก่อนที่จะวิเคราะห์เครื่องมือ ทางกฎหมายในการด� ำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย กล่าวคือ ความตกลงอาเซียนว่าด้วยการยอมรับร่วมกัน เกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพเพื่อการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพ และผลกระทบ ต่อกฎหมายไทย ๑) พัฒนาการของการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของผู้ให้บริการวิชาชีพในอาเซียน : จากการเปิด เสรีการค้าบริการของอาเซียนไปสู่การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แผนการเปิดเสรีในเรื่องนี้ต้องกระท� ำอย่างสอดคล้องกันและเป็นไปตามหลักการของกฎหมาย ระหว่างประเทศในเรื่องการค้าบริการ ซึ่งมีหลักพื้นฐานคือ การไม่เลือกปฏิบัติ การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับ การอนุเคราะห์ยิ่ง การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ หลักความโปร่งใส การขจัดหรือลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด และการเปิดเสรีอย่างก้าวหน้าและต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังครอบคลุมเกณฑ์ในการก� ำหนดขอบเขต รวมถึง ค� ำจ� ำกัดความ ตลอดจนการจ� ำแนกรูปแบบของการให้บริการ อย่างไรก็ตาม การด� ำเนินการยังต้องอาศัยเครื่องมือทางกฎหมายเพิ่มเติมในการด� ำเนินการ ในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมและอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการก� ำหนดกรอบในความตกลงว่าด้วย การค้าบริการอาเซียน การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเสริมด้วยมาตรการ ด� ำเนินการในรายละเอียด กล่าวคือ ความตกลงรับรองร่วมกันเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพ ดังจะได้ ศึกษาตามล� ำดับต่อไป ๑.๑ การเปิดเสรีการค้าบริการในกรอบของความตกลงว่าด้วยการค้าบริการอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ รัฐสมาชิก ได้ให้การรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งระบุเจตนารมณ์ในการเปิดเสรีการค้าบริการในสาขาต่าง ๆ และ ยอมรับความตกลงเกี่ยวกับกรอบงานของอาเซียนในเรื่องการค้าบริการที่เรียกว่า ASEAN Framework

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=