สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

108 การแตกสลายเชิ งเร่งปฏิ กิ ริ ยาของพอลิ เมทิ ลเมทาคริ เลตด้วยตั วเร่งปฏิ กิ ริ ยาซี โอไลต์ The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 การวิเคราะห์องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของผลิตภัณ์ของเหลวและแก๊สที่ได้จากการแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยาของพีเอ็ม เอ็มเอด้วยซีโอไลต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องวิเคราะห์ด้วย GC-MS แสดงดังตารางที่ ๓ ตารางที่ ๓ องค์ประกอบของผลิตภัณ์ของเหลวและแก๊สที่ได้จากการแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยาของ พีเอ็มเอ็มเอด้วยซีโอไลต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง อุณหภูมิ ผลได้ของผลิตภัณฑ์ MMA (องศาเซลเซียส) ซีโอไลต์ ของเหลว (wt.%) content (%) Liquid 270 BETA-E1 23.5 93.7 280 BETA-E1 9.4 93.4 290 BETA-E1 4.8 93.3 300 BETA-E1 6.2 93.7 Gas 270 BETA-E1 N/A 60.7 คณะผู้วิจัยพบว่า องค์ประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ของเหลวคือเมทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์ (ร้อยละ ๙๓) สอดคล้องกับผลการทดลองของ Karminsky et al. (2004) ส� ำหรับผลิตภัณฑ์แก๊สพบว่า มีเมทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์อยู่ถึงร้อยละ ๖๐ นั่นแสดงให้เห็นว่าระบบยังคงต้องปรับปรุงหน่วยควบแน่น ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ๔. สรุปผลการทดลอง การแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยาของพอลิเมทิลเมทาคริเลตสามารถท� ำได้ส� ำเร็จในภาวะที่ใช้ ในการศึกษา (อุณหภูมิ ๓๐๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๒ ชั่วโมง ส� ำหรับเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ และ ๒๐๐ ถึง ๒๗๐ องศาเซลเซียส ส� ำหรับเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง) การใช้ซีโอไลต์ร่วมในกระบวนการ สามารถลดอุณหภูมิและเวลาในการท� ำปฏิกิริยาได้เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการแตกสลายเชิงความร้อน การกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับสมบัติความเป็นกรดของตัวเร่งปฏิกิริยา ขณะที่องค์ประกอบที่ พบในผลิตภัณฑ์ของเหลวสัมพันธ์กับความจ� ำเพาะเชิงโครงสร้างของตัวเร่งปฏิกิริยา ผลิตภัณฑ์ของเหลว ที่ได้คือเมทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์และ Oxygenated hydrocarbon (C4-C16) ในกระบวนการแบบ ต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้คือเมทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์ การเพิ่มอุณหภูมิในการท� ำปฏิกิริยา ในช่วง ๒๐๐ ถึง ๒๗๐ องศาเซลเซียส แสดงผลเชิงบวกต่อผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลว อย่างไรก็ตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=