สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

107 สุภาภรณ์ คางค� ำ, สมศั กดิ์ ด� ำรงค์เลิ ศ, ชวลิ ต งามจรั สศรี วิ ชั ย วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๓.๓ การแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยาของพีเอ็มเอ็มเอด้วยซีโอไลต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง อิทธิพลของอุณหภูมิต่อการเกิดปฏิกิริยา ผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลวจากการแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยาของพีเอ็มเอ็มเอ ด้วย ซีโอไลต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องที่อุณหภูมิต่าง ๆ แสดงดังตารางที่ ๒ จากการศึกษาการแตกสลาย เชิงเร่งปฏิกิริยาของพีเอ็มเอ็มเอด้วยซีโอไลต์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องที่อุณหภูมิ ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ องศา เซลเซียส พบว่า ที่อุณหภูมิตั้งแต่ ๒๐๐ ถึง ๒๗๐ องศาเซลเซียส ผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลวเพิ่มขึ้นตาม อุณหภูมิ การที่ผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลวเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาถูกควบคุม โดยจลพลศาสตร์ (kinetic-controlled reaction) การเพิ่มอุณหภูมิเป็น ๒๘๐ ถึง ๓๐๐ องศาเซลเซียส ท� ำให้ผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลวลดลงโดยที่ผลิตภัณฑ์หลักที่ได้อยู่ในรูปของแก๊ส เนื่องจาก ณ อุณหภูมิ ดังกล่าวปฏิกิริยาเกิดขึ้นเร็ว ผลิตภัณฑ์เบา (light product) สามารถเกิดปฏิกิริยาต่อได้บนพื้นผิวหรือในรูพรุน ของตัวเร่งปฏิกิริยาท� ำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่วนใหญ่เป็นแก๊ส จากตารางแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่เหมาะสม ส� ำหรับกระบวนการนี้คือ ๒๗๐ องศาเซลเซียส เนื่องจากเกิดผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลวมากที่สุด ตารางที่ ๒ ผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลวจากการแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยาของพีเอ็มเอ็มเอด้วยซีโอไลต์ ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง อุณหภูมิ ผลได้ของผลิตภัณฑ์ (องศาเซลเซียส) ซีโอไลต์ ของเหลว (wt.%) 200 BETA-E1 5.1 250 BETA-E1 13 BETA-E2 11.7 ZSM5-E1 13.1 270 BETA-E1 23.5 BETA-E2 22 ZSM5-E1 23.8 280 BETA-E1 9.4 BETA-E2 8.4 290 BETA-E1 4.8 300 BETA-E1 6.2

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=