สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
103 สุภาภรณ์ คางค� ำ, สมศั กดิ์ ด� ำรงค์เลิ ศ, ชวลิ ต งามจรั สศรี วิ ชั ย วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๒.๓ วิธีการทดลอง การย่อยสลาย PMMA ในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ การย่อยสลายพีเอ็มเอ็มเอกระท� ำในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ด้วยอุปกรณ์ Parr โมเดล ๔๘๔๓ โดยใช้อัตราส่วนของซีโอไลต์ต่อพีเอ็มเอ็มเอ เท่ากับ ร้อยละ ๑ โดยน�้ ำหนัก ป้อนแก๊สไนโตรเจนไหล ผ่านเครื่องปฏิกรณ์อย่างต่อเนื่องประมาณ ๕ นาที เพื่อก� ำจัดออกซิเจนในระบบ จากนั้นจึงปิดวาล์วทั้งหมด แล้วจึงให้ความร้อนแก่เครื่องปฏิกรณ์จนอุณหภูมิในเครื่องปฏิกรณ์เท่ากับ ๓๐๐ องศาเซลเซียส และคงไว้เป็น เวลา ๑๒๐ นาที หลังจากนั้นอุณหภูมิภายในเครื่องปฏิกรณ์จะถูกลดกลับลงมาที่อุณหภูมิห้องอย่างรวดเร็ว โดยใช้น�้ ำหล่อเย็น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของแก๊ส ของเหลว และของแข็ง โดยที่ผลิตภัณฑ์ของเหลว จะถูกน� ำไปกลั่นแยกด้วย rotary evaporator (๙๕ องศาเซลเซียส, ๒๐๐ มิลลิบาร์) ได้เป็นผลิตภัณฑ์ เบา (light fraction) และผลิตภัณฑ์หนัก (heavy fraction) การย่อยสลาย PMMA ในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง การย่อยสลายพีเอ็มเอ็มเอกระท� ำในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องดังที่แสดงในรูปที่ ๑ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน ๒๐ เซนติเมตร สูง ๕๐ เซนติเมตร ภาวะที่ใช้ในการทดลองคืออุณหภูมิ ๒๐๐-๒๗๐ องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศของแก๊สไนโตรเจนที่อัตราการไหล ๕ ลิตรต่อนาที อัตรา การป้อนพีเอ็มเอ็มเอ ๒๕๐ กรัมต่อชั่วโมง เบดของตัวเร่งปฏิกิริยาประกอบด้วยซีโอไลต์อัดเม็ด ๑๐๐ กรัม และอะลูมินาบอลล์ ๔๐๐ กรัม เวลา ๒๔๐ ชั่วโมง รูปที่ ๑ ชุดเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=