สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ การแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยาของ พอลิเมทิลเมทาคริเลตด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ ๑. บทน� ำ อะคริลิกพลาสติกหรือพอลิเมทิลเมทาคริเลต หรือพีเอ็มเอ็มเอ (PMMA) เป็นวัสดุที่มีบทบาท ในชีวิตประจ� ำวันของเราเป็นอย่างมากและมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีสมบัติ ที่โดดเด่นด้านความเหนียว ความโปร่งใส สามารถขึ้นรูปได้ง่าย ในแต่ละปีจะมีปริมาณเศษพีเอ็มเอ็มเอ เหลือทิ้งหลายร้อยตัน วิธีการจัดการเศษพีเอ็มเอ็มเอเหล่านี้มีหลายวิธีทั้งเชิงกลและเชิงความร้อน สุภาภรณ์ คางค� ำ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมศักดิ์ ด� ำรงค์เลิศ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวลิต งามจรัสศรีวิชัย ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทคัดย่อ การแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยาของพอลิเมทิลเมทาคริเลตสามารถท� ำได้ส� ำเร็จที่อุณหภูมิ ต�่ ำกว่า ๓๐๐ องศาเซลเซียส การใช้ซีโอไลต์ร่วมในกระบวนการสามารถลดอุณหภูมิในการท� ำปฏิกิริยา ได้เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการแตกสลายเชิงความร้อน ในการทดลองแบบแบตช์ การกระจาย ตัวของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับสมบัติความเป็นกรดของตัวเร่งปฏิกิริยา ขณะที่องค์ประกอบที่พบใน ผลิตภัณฑ์ของเหลวสัมพันธ์กับความจ� ำเพาะเชิงโครงสร้างของตัวเร่งปฏิกิริยา ในกระบวนการแบบต่อ เนื่อง ผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้คือเมทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์ การเพิ่มอุณหภูมิในการท� ำปฏิกิริยาใน ช่วง ๒๐๐ ถึง ๒๗๐ องศาเซลเซียส แสดงผลเชิงบวกต่อผลได้ของผลิตภัณฑ์ของเหลว อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า ๒๗๐ องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์เบาแตกตัวต่อไปที่ต� ำแหน่งกัมมันต์บนพื้นผิว หรือภายในรูพรุนของตัวเร่งปฏิกิริยาท� ำให้เกิดแก๊สมากขึ้น การเสื่อมสภาพอย่างมีนัยส� ำคัญของ ZSM-5 เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาในการด� ำเนินปฏิกิริยาไปแล้ว ๑๒๐ ชั่วโมง ส่งผลให้ผลได้ของผลิตภัณฑ์ ของเหลวลดลง ค� ำส� ำคัญ : การแตกสลายเชิงเร่งปฏิกิริยา, พีเอ็มเอ็มเอ, ซีโอไลต์, ของเสียพลาสติก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=