สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ข้อพิ จารณาทางกฎหมายส� ำหรั บการเคลื่ อนย้ายอย่างเสรี ของบุคคลผู้ให้บริ การวิ ชาชี พในประชาคมเศรษฐกิ จอาเซี ยนมายั งประเทศไทย 2 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 บทน� ำ ในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีการก� ำหนดเรื่องการเคลื่อนย้ายบริการ อย่างเสรี อันเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งเพื่อที่จะน� ำไปสู่การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียวของประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งต้องด� ำเนินการภายในกรอบของความตกลงอาเซียนว่าด้วยการค้าบริการที่ได้ท� ำ ขึ้นก่อนหน้านี้ โดยการพัฒนาและสร้างแนวทางปฏิบัติขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปของแผนงานที่แสดงให้ปรากฏ ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการ กรอบเวลาที่ชัดเจน ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถยอมรับเงื่อนไขและ ใบอนุญาตหรือใบรับรอง ซึ่งออกให้โดยประเทศสมาชิกอื่นเพื่ออนุญาตหรือรับรองให้บุคคลผู้ให้บริการ วิชาชีพจากประเทศสมาชิกอื่นเข้ามาประกอบวิชาชีพในดินแดนของตนได้ โดยผ่านการท� ำข้อตกลงว่า ด้วยการยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRA) ในเรื่องคุณสมบัติวิชาชีพ ซึ่ง เป็นความตกลงที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีด้านบริการส� ำหรับ บุคคลธรรมดาผู้ให้บริการด้านวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน ๗ สาขาวิชาชีพ กล่าวคือ วิชาชีพ วิศวกรรม วิชาชีพพยาบาล วิชาชีพสถาปัตยกรรม วิชาชีพการส� ำรวจ วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพทันตแพทย์ วิชาชีพบัญชี และล่าสุดประเทศสมาชิกอาเซียนได้บรรลุข้อตกลงร่วมลักษณะดังกล่าวในด้านการท่องเที่ยว ๑ เพื่อจัดท� ำมาตรฐานสมรรถนะและคุณสมบัติของบุคลากรผู้ที่ประกอบอาชีพใน ๓๒ ต� ำแหน่งงานของธุรกิจ สาขาที่พักและการเดินทาง (Hotel and Travel Services) การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพเป็นปัจจัยส� ำคัญยิ่งประการหนึ่งของการเปิด เสรีการค้าบริการในรูปแบบของการให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (ประเภทที่ ๔ ในความหมายของการ ค้าบริการตามกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ) ๒ โดยบริการวิชาชีพเป็นเพียงหนึ่งในสาขาบริการย่อยใน สาขาบริการธุรกิจ (Business Service) ซึ่งก็เป็นประเภทหนึ่งใน ๑๒ ประเภทของบริการที่อยู่ในขอบเขต ของความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) ซึ่งใช้เป็น กรอบทางกฎหมายในเรื่องนี้ส� ำหรับการค้าระหว่างประเทศ ๓ ภายใต้กรอบการค้าขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ๑ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งรัฐสภาให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และไทยลงนามเข้าผูกพัน เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ๒ รูปแบบการค้าบริการภายใต้ GATS มีทั้งหมด ๔ รูปแบบ (Mode) ประกอบด้วย Mode 1 การให้บริการข้ามแดน, Mode 2 การบริโภค ข้ามแดน, Mode 3 การจัดตั้งทางพาณิชย์ และ Mode 4 การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา ๓ การจ� ำแนกสาขาบริการดังกล่าว องค์การการค้าโลก (WTO) ได้จัดท� ำไว้ในเอกสาร เรียกว่า W/120 (Services Sectoral Classification List) ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=