สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
97 จงรั กษ์ ผลประเสริ ฐ, สุทธิ รั ตน์ กิ ตติ พงษ์วิ เศษ, พรรณวี ร์ เมฆวิ ชั ย, ทาคาชิ มิ โน วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๔.๒ วิสัยทัศน์และพันธกิจของ GPSS-GLI วิสัยทัศน์ของโครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (GPSS-GLI, 2013) คือมุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ความยั่งยืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการเรียน รู้จากทฤษฎีในห้องเรียน และประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติในพื้นที่จริง เพื่อสร้างเสริมทักษะและ พัฒนาขีดความสามารถในการคิดริเริ่ม ตลอดจนเป็นผู้น� ำในการวางแผน แก้ไขปัญหาในระดับภูมิภาคและ ระดับโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ หลักสูตรยังมุ่งหวังให้มีการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ผ่านกระบวนทัศน์และวิเคราะห์เชื่อมโยงแบบองค์รวม จากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสหสาขา วิชาการ และการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักวิจัยระดับนานาชาติที่มีความแตกต่าง ความหลากหลายทาง วัฒนธรรม โครงการฯ ได้ผลิตดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มาจากสิบกว่าประเทศทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไทย เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาดากัสการ์ มองโกเลีย ภูฏาน จอร์แดน เนปาล ศรีลังกา เคนยา อิหร่าน โปแลนด์ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย บราซิล ฝรั่งเศส สโลวาเกีย โปรตุเกส ชิลี จาไมกา อาเซอร์ไบจาน โบลิเวีย เอธิโอเปีย ๔.๓ ตัวอย่างงานวิจัยของหลักสูตร GPSS-GLI ผลงานที่ทางโครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ด� ำเนินการศึกษาวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้จากสหสาขาการวิชาเข้าไว้ด้วยกัน ได้ แสดงไว้ดังหัวข้อวิจัยต่อไปนี้ • ปัจจัยจิตวิทยา สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการรับรู้ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง กรณีศึกษาในประเทศไทย (Kittipongvises, 2013) • การศึกษาและประเมินศักยภาพการด� ำเนินงานให้เงินทุนช่วยเหลือแก่กลุ่มวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อน� ำไปใช้ฟื้นฟูพื้นที่หรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในประเทศ ญี่ปุ่นให้กลับสู่สภาพปกติ (Nagai, 2013) • นโยบายลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากการท� ำลายป่าและความเสื่อมโทรม ของป่าในประเทศก� ำลังพัฒนากับความมั่นคงในการครอบครองพื้นที่ป่าชุมชน กรณีศึกษาในประเทศ กัมพูชา (Thuon, 2013) • การประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การตัดสินใจเลือกใช้พลังงานส� ำหรับผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษาในประเทศฝรั่งเศส (Tauzin, 2013)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=