สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

โครงการศึ กษาเพื่ อประเด็ นใหม่สิ่ งแวดล้อมและความยั่ งยื น 96 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ๓. แนวทางงานวิจัย โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบสหสาขาวิชาการ (Multidisciplinary) และการข้ามผ่านสาขาวิชาการ (Transdisciplinary) จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้นพบว่า โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดย อาศัยแนวทางและกระบวนการวิจัยแบบเดิมคงมีไม่มากนัก ดังนั้น แนวคิดจากการศึกษาแบบสหสาขา วิชาการและการข้ามผ่านสาขาวิชาการจึงเป็นแนวทางเลือกใหม่ให้นักวิจัยได้ริเริ่ม ด� ำเนินโครงการและ ขับเคลื่อนผลงาน เพื่อน� ำไปสู่การแก้ปัญหาที่สมบูรณ์ หรือได้ประเด็นที่ใหม่จากงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ โดย ผ่านกระบวนวิธีดังต่อไปนี้ ๓.๑ ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหสาขาวิชาการ เป็นการศึกษาแบบบูรณาการพหุสาขาวิชา โดยการ ผสมผสานมุมมองเรื่องต่าง ๆ ในลักษณะที่ไม่แยกส่วน เชื่อมโยงและจัดการความรู้จากศาสตร์หลายสาขา วิชา เพื่อให้นักวิจัยเกิดความเข้าใจ และเห็นความสัมพันธ์ของปัญหาอย่างเป็นภาพรวม เช่น การบูรณาการ สาระความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เข้ากับสาระความรู้ทางสังคมศาสตร์ ๓.๒ ระเบียบวิธีวิจัยแบบข้ามผ่านสาขาวิชาการ เป็นการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือของ นักวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะสาขา ในการวางแผนและตั้งโจทย์ของกระบวนการวิจัย ร่วมกันตั้งแต่แรก เพื่อบูรณาการผสมผสานแนวคิดจากหลายสาขาเข้าด้วยกันอย่างเชื่อมโยง เป็นระเบียบ แบบแผน น� ำไปสู่การแก้ปัญหางานวิจัยที่สมบูรณ์ โดยช่วยกันแก้ปัญหาในลักษณะเฉพาะหรือมีความ ซับซ้อนในศาสตร์แต่ละสาขาได้ ตลอดจนน� ำไปสู่ประเด็นใหม่ที่น่าสนใจจากงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ อย่างเป็น ระบบและองค์รวม ๔. กรณีศึกษามหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น : โครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ ความยั่งยืนและภาวะความเป็นผู้น� ำในระดับนานาชาติ (GPSS-GLI) ๔.๑ ความเป็นมาของ GPSS-GLI โครงการบัณฑิตศึกษาวิทยาศาสตร์ความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. ๒๐๐๗ โดยเริ่มต้นจากการบูรณาการระหว่างหลักสูตรสาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ระบบสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและมนุษยศาสตร์ สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ตลอดจนแรงผลักดันจาก เครือข่ายนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ความยั่งยืน ต่อมาใน ค.ศ. ๒๐๑๒ หลักสูตรดังกล่าวได้ยกระดับการ ศึกษาให้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยพัฒนาและเพิ่มศักยภาพบัณฑิตของหลักสูตรให้มีความสามารถและทักษะ ความเป็นผู้น� ำในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุน อย่างเป็นทางการจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และประเทศญี่ปุ่น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=