สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
95 จงรั กษ์ ผลประเสริ ฐ, สุทธิ รั ตน์ กิ ตติ พงษ์วิ เศษ, พรรณวี ร์ เมฆวิ ชั ย, ทาคาชิ มิ โน วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ได้แก่ทรัพยากรที่หมดไป (ไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ทันกับความต้องการในเวลาอันรวดเร็ว) เช่น พลังงานน�้ ำมันดิบ ปิโตรเลียม ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ นอกจากทรัพยากรจ� ำพวกกลุ่มพลังงานแล้ว ยังพบปัญหาการร่อยหรอของทรัพยากรแร่ธาตุ เช่น ปัญหาแร่ฟอสฟอรัสที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมทางการ เกษตร เพราะแหล่งแร่ฟอสฟอรัสมีแนวโน้มจะถูกใช้หมดในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการรักษาสมดุล ของฟอสฟอรัสในธรรมชาติอย่างเหมาะสม ๒.๒.๒ ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและภัยธรรมชาติ ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและภัยธรรมชาติเป็นปัญหาหลักที่ก� ำลัง ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกในปัจจุบัน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ขององค์กรระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้สันนิษฐานว่า การเพิ่มขึ้นของปริมาณแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์น่าจะเป็นสาเหตุหลักของ ปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษาขององค์กรระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่า ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มสูงขึ้นจาก ๒๘๐ ส่วนในล้านส่วน ใน ค.ศ. ๑๘๐๐ เป็น ๓๖๐ ส่วนในล้านส่วน ใน ค.ศ. ๒๐๐๐ เช่นเดียวกับปริมาณแก๊สมีเทน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัว จาก ๗๕๐ เป็น ๑,๗๕๐ ส่วนในพันล้านส่วนในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนแก๊สไนทรัสออกไซด์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่มีการ ปฏิวัติการท� ำเกษตรกรรม โดยตรวจพบความเข้มข้นในชั้น บรรยากาศเพิ่มขึ้นจาก ๒๗๐ ส่วนในล้านส่วนใน ค.ศ. ๑๘๐๐ เป็น ๓๑๐ ส่วนในล้านส่วนใน ค.ศ. ๒๐๐๐ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การสะสมของกลุ่มแก๊สเรือนกระจกในชั้น บรรยากาศได้ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงขึ้นประมาณ ๐.๗๔ ± ๐.๑๘ องศาเซลเซียส ในช่วง ต้นและช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ (IPCC, 2007) โดยการที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั้น ยังเป็นสาเหตุของปัญหาน�้ ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายและระดับน�้ ำทะเลที่สูงขึ้น ตลอดจนภาวะการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ภาวะแห้งแล้งและน�้ ำท่วมอย่างฉับพลันในหลาย พื้นที่ ปริมาณและรูปแบบการเกิดฝนจะเปลี่ยนแปลงไป ๒.๒.๓ ปัญหามลพิษ จ� ำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดปัญหา มลพิษเพิ่มขึ้นตามมา เช่น มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ฝุ่นละออง แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ โอโซน แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารอินทรีย์ระเหยง่าย นอกจากนี้ยังพบปัญหาคุณภาพแหล่งน�้ ำเสื่อมโทรมจากการปนเปื้อนโลหะหนัก หรือสารเคมี และปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะและของเสียอันตรายอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=