สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 * บรรยายในการประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ โครงการศึกษาเพื่อประเด็นใหม่ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน * จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ มหาวิทยาลัยโตเกียว ญี่ปุ่น และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พรรณวีร์ เมฆวิชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทาคาชิ มิโน มหาวิทยาลัยโตเกียว ญี่ปุ่น บทคัดย่อ จ� ำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วท� ำให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ มลพิษสิ่งแวดล้อม ส่วนมากเกิดจากการปล่อยของเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม ท� ำให้เกิดการปนเปื้อน ในแหล่งน�้ ำ อากาศ และดิน มีผลเสียต่อสุขภาพคนและสัตว์ ประชากรเกือบครึ่งโลกมีความเป็นอยู่ ในระดับยากจน ไม่มีระบบสุขาภิบาลที่เหมาะสมและน�้ ำสะอาดใช้ อุปโภค บริโภค ประเด็นใหม่ด้าน สิ่งแวดล้อมได้แก่ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น�้ ำมันเชื้อเพลิงและปุ๋ยฟอสเฟต ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น น�้ ำท่วม แผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ ผลกระทบดังกล่าวถือว่าเป็นภัยคุกคามความยั่งยืนของมนุษยชาติ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่แหล่งทรัพยากร เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิตและ สังคม การแก้ปัญหาเหล่านี้โดยอาศัยวิธีวิจัยแบบเดิมอาจไม่ประสบผลและไม่ถึงจุดหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ด้วยเหตุนี้แนวคิดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาการ และการข้าม ผ่านสาขาวิชาการ โดยที่นักวิจัยหลายสาขามาท� ำวิจัยร่วมกันในหัวข้อเรื่องหัวข้อหนึ่ง วางแผนตั้ง โจทย์ร่วมกัน ตั้งแต่ช่วงริเริ่มโครงการจนกระทั่งน� ำไปสู่การตอบโจทย์ที่สมบูรณ์หรือได้ประเด็นใหม่ ที่น่าสนใจจากงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ จากการกลั่นเข้าด้วยกันของสาขาวิชาหลายสาขา กรอบแนว ความคิดดังกล่าวนี้ได้มีการริเริ่มและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและแพร่หลายในวงการวิชาการ ระดับนานาชาติ เช่นกรณีศึกษาตามแนวคิดของมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในโครงการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=